พิธีกรรมโนราการแต่งพอกไปเชิญตายายโนรา
รุ่งเช้า โนรารีบตื่นขึ้นมา "แต่งพอก" หรือ "แทงพอก" เพื่อไปเชิญตายายมาร่วมพิธี
เครื่องแต่งกายโนราในวันนี้มีมากขึ้นกว่าที่ใช้ในการแสดงทั่วไป คือ หลังจากสวมผ้านุ่งธรรมดาแล้ว
จะต้องมีผ้าพับและพอกไว้นอกผ้านุ่งธรรมดาอีกหนึ่งผืน และมี "ห่อพอก" ซึ่งทำจากผ้าสีหรือผ้ามีลวดลายขมวดปมสองข้างผูกไว้ข้างเอว
ขนาดเท่ากับห่อทุเรียนกวน สว่าง สุวรรณโร สันนิษฐานไว้ใน
(พิธีกรรมโนราโรงครูเหยียบเสน ท่าแค จังหวัดพัทลุง)
สารานุกรมภาคใต้ ว่า "ห่อพอกน่าจะเป็นเครื่องแต่งตัว
หรือที่เก็บเครื่องแต่งตัวสมัยก่อน แล้วจำลองลงมาให้เล็กลง
เพื่อสะดวกในการผูกไว้กับเอว เพราะตามธรรมดาโนรา
เมื่อออกโรงแสดงแล้วก็มักมี "ห่อพาย"
เพราะเดินทางไป ณ ที่ไกล ๆ และต้องเดินทางไปเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับการแต่งตัวพราน
ซึ่งจะมีย่ามที่เรียกว่า "ห่อพาย"
ในห่อพายนั้นมีกะปิ ขมิ้น พริกขี้หนู ข้าวสาร
และเงินไปด้วย"ประมาณแปดโมงเช้า คณะดนตรีจึงเริ่มบรรเลงเพลงไหว้ครู
นายโรง และโนราชายอีกสามคน ออกมารำไหว้ครูร่วมกัน "คุณเอ๋ยคุณครู
เหมือนฝั่งแม่น้ำพระคงคา คิ่นคิ่นจะแห้งไหลมา ยังไม่รู้สิ้นรู้สุด
สิบนิ้วลูกยกขึ้นตำเหนิน สรรเสริญถึงคุณพระพุทธ พ่อจำศีลอยู่ยังไม่รู้สิ้นสุด
ไหว้พระเสียก่อนต่อสวดมนต์..."
หลังจากนั้นจึงรำบทครูสอนด้วยการจำลองการสอนท่ารำพื้นฐาน
๑๒ ท่าให้ชม โดยนายโรงเป็นผู้รำก่อน มีโนราอีกคนรำตาม
เพื่อรำลึกคุณครูและถือเป็นการถ่ายทอดการร่ายรำโนราสู่เด็กรุ่นใหม่อย่างแนบเนียน
เพราะเด็ก ๆ ที่ยืนดูอยู่รอบ ๆ มักทำมือตามไปด้วยอย่างสนุกสนาน หากใครรักชอบการร่ายรำก็จะเข้ารับการฝึกฝนกลายเป็นโนรารุ่นใหม่ต่อไป
ล่วงเข้าสายของวัน ผู้คนเริ่มหนาตามากขึ้น
โดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่พากันจับจองเก้าอี้หน้าโรงจนเต็ม เพราะใกล้ถึงเวลาจับบทออกพราน
การแสดงละคร ๑๒ เรื่องที่โนราตัดตอนมาให้ดูสั้น ๆ
เน้นแก่นความคิดของแต่ละเรื่อง ซึ่งเกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่สำคัญในสังคม
(พิธีกรรมโนราโรงครูคณะประสงค์ กำพลศิลป์)
เช่นเรื่องพระรถเมรี สอนให้เห็นแม่สำคัญกว่าเมีย เรื่องไกรทอง
สอนให้รู้คุณครูบาอาจารย์ เรื่องพลายงาม สอนเรื่องบุญ-กรรมว่า
ชีวิตเป็นผลจากกรรมแต่ชาติก่อน เรื่องที่นิยมเล่นคือ
มโนห์รา พระรถเมรี ลักษณวงศ์ โคบุตร สังข์ทอง คาวี พระอภัยมณี จันทโครบ สินนุราช
สังข์ศิลป์ไชย มณีพิชัย หรือ ยอพระกลิ่น และไกรทอง ละครแต่ละเรื่องใช้เวลาแสดงประมาณ
๑๕ นาที ถ้าเด็กคนไหนอยากรู้เรื่องราวต่อไปก็จะวิ่งไปถามตายายของตน
หรือบรรดาผู้เฒ่าผู้แก่ที่นั่งชมอยู่แถว
แม้ว่าหลายคนจะดูละครจนจำเรื่องราวได้ทุกบททุกตอน
แต่ช่วงจับบทออกพรานก็ยังเป็นตอนที่มีผู้ชมแน่นขนัดอยู่เสมอ
เพราะตัวพรานซึ่งเป็นตัวตลกของคณะจะคอยแทรกมุขตลกโดยเฉพาะบทพูดสองแง่สองง่าม
เรียกเสียงฮาจากคนดูได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ท่ารำของพรานยังมีเอกลักษณ์ คือ เน้นการเคลื่อนไหวส่วนอก หลัง ไหล่ และหน้าท้อง
ให้เข้ากับลีลาจังหวะของดนตรีที่กระชับหนักแน่น เช่น ย่อตัวงอไหล่
เล่นแขนชี้นิ้ว โยกหน้าท้องขึ้นลง หรือเวลาเดินจะต้องก้าวไปข้างหน้าสองก้าว
แล้วถอยหลังหนึ่งก้าว และเนื่องจากชุดของพรานนั้นเปลือยอก นุ่งโจงกระเบนสีแดง
จึงมองเห็นการเคลื่อนไหวบริเวณส่วนพุงได้ชัดเจน เรียกเสียงหัวเราะจากคนดูได้มาก เวลาพรานออกรำจะสวมหน้ากากที่เรียกว่า
"หน้าพราน" หรือ "หัวพราน"
เป็นหน้ากากครึ่งหน้า ไม่มีส่วนคาง จมูกยื่นยาว ปลายงุ้มเล็กน้อย
เจาะรูตรงส่วนที่เป็นตาดำให้ผู้สวมมองเห็นได้ถนัด หน้าผากทาสีแดงทั้งหมด
แต่ถ้าเป็นตัวตลกหญิงจะทาสีขาวหรือสีเนื้อ เรียกว่า "หน้าทาสี"
(พิธีกรรมเชื้อเชิญตายยายโนราลงมายังโรงพิธีกรรมโนราโรงครู)
หน้าพรานมีความสำคัญและอำนาจในทางศักดิ์สิทธิ์ไม่น้อยไปกว่าเทริดของโนรา
เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคล เห็นได้จากในช่วงเข้าทรงตายาย
มักเรียกลูกหลานให้เข้ามารำพรานเพื่อความโชคดี มีผู้สันนิษฐานว่า สาเหตุที่หน้าพรานมีความสำคัญเทียบเท่ากับเทริดของโนรา
ก็เนื่องมาจากในอดีต "พราน"
เป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อสังคมยุคเก็บของป่าล่าสัตว์
และก่อนที่ชาวบ้านจะรับวัฒนธรรมโนราเข้ามา ชาวบ้านเคยรำพรานในพิธีโรงครูอยู่แล้ว พรานจึงเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี
และชาวบ้านให้ความเคารพนับถือเทียบเท่าโนรา เห็นได้จากตำแหน่งของ "หน้าพราน" หากยังไม่ได้นำมาสวม
จะต้องวางบนพาไล ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับบูชาใกล้กับเทริดของโนราเท่านั้น
(พิธีกรรมโนราโรงครูเหยียบเสน ท่าแค จังหวัดพัทลุง)
โนราแสดงจับบทออกพรานจนครบ
๑๒ บทเมื่อเวลาล่วงเข้าบ่าย โนราสอบถามเจ้าภาพว่า
มีใครมาแจ้งเอาไว้ว่าต้องการทำพิธีเหยียบเสนหรือไม่ เมื่อเจ้าภาพแจ้งว่ามีและต้องการให้เหยียบเสนที่ก้นหลานชาย
นายโรงจึงสั่งให้คนไปตามตัวมาเข้าพิธี เหยียบเสนเป็นวิธีรักษาโรคแบบดั้งเดิม
ตามความเชื่อของคนในสังคมโนรา เสนที่ว่านี้คือ ปานชนิดหนึ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด
ถ้ามีสีดำเรียกว่า เสนดำ ถ้ามีสีแดงเรียกว่า เสนทอง ชาวบ้านเชื่อว่า "ผีเจ้าเสน" เป็นผู้ทำให้เกิดขึ้น
และต้องให้โนราทำพิธีรักษา โดยการใช้นิ้วเท้าเหยียบลงบนเสน
หากเหยียบครั้งแรกยังไม่หายต้องมาให้โนราเหยียบซ้ำในโรงครูครั้งต่อไป
จนกว่าเสนจะหาย
(พิธีกรรมโนรารำเฆี่ยนพราย ภาพที่ถาบันทักษิณคดีศึกษาสงขลา)
ในอดีตผู้เป็นเสนจะต้องคอยฟังข่าวว่า
บ้านไหนมีพิธีโรงครู หลังจากนั้นจึงไปรอรักษา แต่ในยุคที่การแพทย์เจริญก้าวหน้า
คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยเชื่อเรื่อง "ผีเจ้าเสน"
จึงมีแต่ผู้เฒ่าผู้แก่ที่จูงหลานตัวน้อยมาเข้าร่วมพิธี โดยเข้ามาในโรง
พร้อมกับเครื่องประกอบพิธี ที่เตรียมไว้ตั้งแต่ คือ ขันน้ำ หมาก พลู ธูป เทียน
ดอกไม้ มีดโกน หินลับมีด เงินเหรียญ เครื่องทอง เครื่องเงิน หญ้าคา
หญ้าเข็ดหมอนและรวงข้าวในการปราบผีเจ้าเสนให้ราบคาบ โนราจะต้องรำเฆี่ยนพราย ซึ่งเป็นท่ารำที่มีอำนาจมาก
จะใช้เมื่อต้องการปราบหรือกำจัดอำนาจอื่น เช่น ต้องการปราบผี
"เจ้าเสน" หรือข่มโนราคู่ต่อสู้ในการแข่งประชันโนรา โนราจะนำใบตองหรือกระดาษมาม้วนแล้วมัดเป็นเปลาะ
ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนคู่ต่อสู้ หลังจากนั้นจึงรำไปรอบ ๆ
ม้วนใบตองด้วยท่าทางขึงขังประกอบเสียงดนตรีเร่งเร้า โนราใช้ หวายตี ม้วนใบตองสลับกับการร่ายรำ
อยู่ประมาณสองสามรอบจึงเริ่มทำพิธีเหยียบเสน
ขอขอบคุณข้อมูลที่มีประโยชน์จาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น