โนราโรงครูแตกต่างจากโนราลงครูอย่างไร ?
(ภาพโนราโรงครูของคณะโนราประสงค์ กำพลศิลป์)
โนราโรงครู หมายถึง การแสดงโนราประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ ซึ่งมีการรำ
การร้องการแสดงเรื่องราวและการเชิญวิญญาณบรรพบุรุษโนรา มาประทับทรง เพื่อแสดงความเคารพบูชา แก้บน และประกอบพิธีกรรมอื่น ๆ เช่น การรักษาโรค ครอบครูโนรา ฯลฯ
(ภาพโนราโรงครูของคณะโนราประสงค์ กำพลศิลป์)
การแสดงโนราโรงครูมีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ
1. เพื่อบูชาและแสดงความกตัญญูต่อวิญญาณบรรพบุรุษที่มีเชื้อสายโนรา โดยเชิญวิญญาณครูโนรา
หรือ บรรพบุรุษที่มาประทับในร่างทรง เพื่อพบปะลูกหลานและรับเครื่องเซ่นสังเวย
2. เพื่อแก้บน
หรือ แก้เหมรย สิ่งที่เกิดความทุกข์ยาก แล้วคลี่คลายหายไป
หรือการประสบผลสำเร็จในการดำเนินชีวิต จากการบนบานสานกล่าว
หรืออ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากวิญญาณบรรพบุรุษ
3. เพื่อทำพิธีครอบครูโนรา หรือ ผูกผ้าใหญ่ ให้กับศิษย์โนราที่มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพโนรา ได้อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคต
3. เพื่อทำพิธีครอบครูโนรา หรือ ผูกผ้าใหญ่ ให้กับศิษย์โนราที่มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพโนรา ได้อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคต
โนราลงครู หมายถึง พิธีกรรมส่วนหนึ่งในการแสดงโนราโรงครู เป็นการเชิญวิญญาณบรรพบุรุษ
ขอขอบคุณข้อมูลจากเอกสารมหาวิทยาลัยทักษิณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น