การร้องกลอนทอย
ศิลปะทางนาฎลักษณ์ของบทกลอนโนราใต้
• ความสำคัญ ใช้ในการละเล่นโนรา
• เนื้อหา กลอนทอย :
เป็นกลอนในรูปแบบอย่างหนึ่ง ในการขับบทร้องโดยเฉพาะของโนราห์เป็นลักษณะของกลอนคู่
(ตัวอย่างกลอนทอย) " ไม่รักพี่ไม่มาหา ที่พี่มาเพราะหวงแหนหวงแหน
เป็นตายให้ได้แนบแน่น
น้องอย่าผลักให้หักราบหักราบ
ตัวพี่นี้เปรียบเหมือนบด
ไหนจะอด ซึ่งรสหวานรสหวาน
ตัวน้องนี้คือน้ำตาล คู่กันแล้ว
ไม่แคล้วกันแคล้วกัน "
- กลอนทอยทุกบาท
สองคำสุดท้ายของบาทจะซ้ำกับสองคำหน้าที่อยู่ติดกันเสมอดั่งตัวอย่าง
(แผนผังบังคับฉันทลักษณ์ของบทกลอน
อาจจะยักย้าย)
จากที่แสดงไว้ได้อีกแบบหนึ่งคือคำสุดท้ายของแต่ละบาทสัมผัสต่อเนื่องกันไป
เมื่อจบคำสัมผัสจึงเปลี่ยนมาสัมผัสจากคำสุดท้ายของบาทเอกไปยังค่าสุดท้ายของวรรคแรกในบาทโท
(ดังตัวอย่าง) " ทุกวันโลกมันผันแปร ไม่ว่าแลไปทางไหนทางไหน
สมัยก่อนคนยึดพระธรรม์ คนทุกวัน
ไม่เป็นไรไม่เป็นไร
ขาดผิวเพื่อนฝูงไม่ว่า
ขาดเงินตรา ต้องช้ำใจต้องช้ำใจ
มีเงินเขานับเป็นพี่น้อง
ถ้าได้ทอง เอาเข้าไปเอาเข้าไป
คนร่ำรวยทำชั่วไม่ปรือ
เขาไม่ถือ ที่จัญไรจัญไร
กฎหมายไว้ขู่คนยาก รวยมามาก
กลัวอ้ายไทรอ้ายไทร
คิดคิดหงุดหงิดใจ ชักไม่ไหว
แล้วไทยแลนด์ไทยแลนด์ "
- การร้องกลอนทอย
ที่มีลักษณะการร้องคู่กัน เรียกว่า "โยนกลอน"
หวังทำนองให้อารมณ์สนุกสนาน
การซึ่งคำในตอนท้ายจึงมีผลทำให้จังหวะและน้ำเสียงของผู้นิยมชัดเจน
การ้องแบบนี้แม่เพลงจะเป็นแบบยุดโต (กลอนสด) ทีละบาท โดยนับตามทุกท้อยคำ ๑ เที่ยว เช่น (แม่เพลง) ไม่รัดพี่ไม่มาก ที่พี่มา
เพราะหวงแหนหวงแหนแต่บางครั้งราวร้องตามแม่เพลง
ขอขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ฐานข้อมูลทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
ศึกษาและต้นคว้าข้อมูลโดย : โนราบรรดาศักดิ์ พิทักษ์ศิลป์
ศึกษาและต้นคว้าข้อมูลโดย : โนราบรรดาศักดิ์ พิทักษ์ศิลป์
ขอขอบคุณรูปจาก การท่องเที่ยวและกีฬา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น