วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

พิธีกรรมโนราเหยียบเสน รักษาโรคด้วยโนราโรงครู

 พิธีกรรมโนราเหยียบเสน (รักษาโรคด้วยโนราโรงครู)

            เสนเป็นเนื้องอกที่นูนขึ้นจากระดับผิวหนัง เป็นแผ่น ถ้ามีสีแดง เรียกว่า เสนทอง ถ้ามีสีดำเรียกว่าเสนดำเสนไม่ทำให้เจ็บปวดหรือมีอันตราย เสนอาจจะงอกบนศีรษะ  ใบหน้า หรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้ดูน่าเกลียด ถ้าเป็นกับเด็กเสนจะโตขึ้นตามอายุ ชาวบ้านและคณะโนราเชื่อว่า เสนเกิดจากการกระทำของ “ผีโอกะแซง” หรือ “ผีเจ้าเสน” หรือเพราะการทำเครื่องหมายของครูหมอโนราหรือตายายโนรา 

เครื่องดนตรีหนังตะลุง ศาสตร์ศิลป์ทางเสียงหนัง

เครื่องดนตรีหนังตะลุงศาสตร์ศิลป์ทางเสียงหนัง

             เครื่องดนตรี เดิมหนังตะลุงใช้เครื่องคนตรีน้อยชิ้น ที่สำคัญมี ทับ 1 คู่ เป็นตัวคุมจังหวะและทำนอง  โหม่ง 1 คู่ สำหรับประกอบเสี่ยงร้องกลอน กลองตุ๊ก 1 ลูก สำหรับขัดจังหวะทับ ฉิ่ง 1 คู่ สำหรับชัดจังหวะโหม่ง และปี่ 1เลา สำหรับเดินทำนอง แต่ ระยะหลังมีดนตรีอื่น  เข้าไปประสมหรืออาจใช้แทนดนตรีดั้งเดิม เช่น ใช้กลองชุดและกลองทอมบ้าแทนกลองตุ๊ก ใช้ไวโอลิน ออร์แกน กีตาร์ ชอ หรือจะเข้เข้าผสมกับปี่ บางคณะก็เลิกใช้ปี่ 

คณะหนังตะลุง จากอดีตจวบจนถึงปัจจุบัน

คณะหนังตะลุงจากอดีตจวบจนปัจจุบัน

           คณะหนัง ประกอบด้วยบุคคล 8-9 คน ก่อนสมัยรัชกาลที่ 6 ใช้คนพากย์ ซิ่งเรียกว่า "นายหนัง" ซึ่ง 2 คน ทำหน้าที่ในการร้องกลอนบรรยายเจรจา และเชิดรูปเบ็ดเสร็จไปในตัว แต่บางคณะคนเชิดรูปจัดไว้ต่างหากคนหนึ่ง เรียกว่า "คนชักรูป" นอกนั้นอาจจะมีหมอประจำโรง เรียกว่า "หมอกบโรง"  1 คนทำหน้าที่เป็นหมอไสยศาสตร์ประจำคณะ ที่เหลือ 5 คนเป็นลูกคู่ ถ้าพิเศษออกไปก็อาจมีคนแบกแผงรูปอีกต่างหาก 1 คน

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ประวัติความเป็นมาหนังตะลุง ตามตำนานคำบอกเล่าจากอดีต

ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุง

           อุดม หนูทอง ได้กล่าวถึงประวัติหนังตะลุงสรุปได้ว่า ในบทพากย์ ฤาษีและบทพากย์พระอิศวรของหนังตะลุงได้เอ่ยอ้างเอาฤาษีชื่อ "พระอุณรุทธ ไชยเถร" เป็นอาจารย์ของหนัง การออกฤาษีของหนังตะลุงนอกจากเพื่อปัดเป่า เสนียดจัญไรแล้ว ก็เพื่อระลึกถึง "บรมราชอาจารย์" ผู้นี้ ซึ่งดูจากความแวดล้อม แล้วจะเห็นว่าเป็นฤาษีในลัทธิฮินดู 

ประวัติโนราจำเริญ ศ. พนมศิลป์ หรือ โนราจำเริญ ทองคำ

ประวัติโนราจำเริญ ศ. พนมศิลป์

            โนราจำเริญ ศ. พนมศิลป์ หรือ โนราจำเริญ ทองคำ จังหวัดสงขลา เกิดเมื่อ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๖ ที่ตำบลฉิมหลา อำเภอหัวไทร จังหวดนครศรีธรรมราช 

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

การแสดงสิบสองบท พิธีกรรมพรานโนรา

 

การแสดงสิบสองบท

             คือการแสดงเรื่องจากนิทานหรือนิยายต่างๆ ๑๒ เรื่องซึ่งบูรพาจารย์ได้กำหนดและแต่งเป็นบทร้องของแต่ละเรื่องไว้สั้นๆ รวมทั้งกำหนดตัวผู้แสดงไว้ด้วยดังนี้

รำสอดกำไล หรือ สอดไหมรยฺ พิธีกรรมเพื่อรับศิษย์เข้าฝึกรำโนรา

 

พิธีกรรมรำสอดกำไล (สอดไหมรยฺ)

          การรำสอดกำไลเป็นพิธีกรรมเพื่อรับศิษย์เข้าฝึกการรำโนรา ทั้งที่เป็นผู้ที่เคยได้ผ่านการหัดรำมาแล้วและยังไม่เคยได้ผ่านการหัดรำมาก่อน

ตำนานประวัติความเป็นมาโนรา ตำนานที่๖ เล่าโดยนายพูน เรืองนนท์

 ตำนานประวัติความเป็นมาโนรา ตำนานที่๖

           ตำนานที่ ๖ เล่าโดยนายพูน เรืองนนท์ดังปรากฎในหนังสือ "การละเล่นของไทย" ของมนตรี ตราโมทว่า  "พระเทพสิงหรกับแมศรีคงคาเป็นสามีภรรยากัน เป็นผู้มีความสามรถแสดงละครชาตรีได้อย่างเลิศ แต่เป็ตคนเข็ญใจต้องเที่ยงแสดงละครเร่ร่อนไปในที่ต่างๆ เพื่อหาเลี้ยงตัว การแสดงละครของพระเทพสิงหรกับแม่ศรีคงคามีศิลปะถึงขนาดใครๆ ก็เลื่องลือไปทั่วเมือง 

ตำนานประวัติความเป็นมาโนรา ตำนานที่๕ เล่าโดยละครชาตรีกรมศิลปากร

ตำนานประวัติความเป็นมาโนรา ตำนานที่๕

               ตำนานที่ ๕ เป็นตำนานละครชาตรีกรมศิลปากรปรากฎในหนังสือการเล่นของไทย สรุปความว่า ท้าวทศมาศ นางสุวรรณดารา ครองกรุงศรีอยุธยา มีพระธิดา ชื่อนางนวลสำลี ครั้นนางนวลสำลีเจริญวัย เทพยดาได้มาปฏิสนธิในครรภ์โดยที่นางมิได้มีสวามี ความทราบถึงท้าวทศวงศ์ จึงทรงให้โหรทำนายได้ความว่า ชะตาบ้านเมืองจะบังเกิดนักเลงชาตรี ท้าวทศวงศ์เกรงจะอับอายแก่ชาวเมือง จึงให้เอานางลอยแพไปเสีย เทพยดาบันดาลให้แพไปติดเกาะสีชังแล้วเนรมิตศาลาให้นางอยู่อาศัย 

ตำนานประวัติความเป็นมาโนรา ตำนานที่๔ เล่าโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ตำนานประวัติความเป็นมาโนรา ตำนานที่๔

                ตำนานที่ ๔ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอ้างถึงหลักฐานอันเป็นตำนานที่ได้ไปจากนครศรีธรรมราช ดังปรากฏในหนังสือตำนานละครอิเหนาว่า"ในคำไหว้ครูของโนรามีคำกล่าวถึงครู เดิมของโนราที่ชื่อขุนศรัทธาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา มีความผิดต้องราชทัณฑ์ ถูกลอยแพไปเสียจากพระนคร แพขุนศรัทธาลอยออกจากปากน้ำไปติดอยู่ที่เกาะสีชัง 

ตำนานประวัติความเป็นมาโนรา ตำนานที่๓ เล่าโดยนายซ้อน ศิวายพราหมณ์

 ตำนานประวัติความเป็นมาโนรา ตำนานที่๓

ตำนานที่ ๓ จากนายซ้อน ศิวายพราหมณ์ ศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ( พ.ศ. ๒๕๐๘) 

เล่าไว้เป็นกลอน ๔ ว่า

วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ตำนานประวัติความเป็นมาโนรา ตำนานที่๒ เล่าโดยโนราวัด จันทร์เมือง


ตำนานประวัติความเป็นมาโนรา ตำนานที่๒

           ตำนานที่ ๒  เล่าโดยโนราวัด จันทร์เมือง ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ความว่า ท้าวมัทศิลป์ นางกุญเกสี เจ้าเมืองปิญจา มอบราชสมบัติให้เจ้าสืบสาย ราชโอรสขึ้นครองแทน โดยแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพระยาสายฟ้าฟาดและมอบพี่เลี้ยงให้ ๖ คน ชื่อนายทอง นายเหม นายบุษป์ นายวงศ์ นายตั้น และนายทัน โดยแต่งตั้งให้คนแต่ละคนมีบรรดาศักดิ์และหน้าที่ดังนี้ นายทองเป็นพระยาหงส์ทอง ตำแหน่งทหารเอกฝ่ายขวา นายเหมเป็นพระยาหงส์เหมราช ตำแหน่งทหารเอกฝ่ายซ้าย นายบุษป์เป็นขุนพิจิตรบุษบา ตำแหน่งปลัดขวา นายวงศ์เป็นพระยาไกรยวงศา ตำแหน่งปลัดซ้าย นายตั้นเป็นพระยาหริตันปัญญา ตำแหน่งขุนคลัง และนายทันเป็นพระยาโกนทันราชาให้เป็นใหญ่ฝ่ายปกครอง 

ตำนานประวัติความเป็นโนรา ตำนานที่๑ เล่าโดยขุนอุปถัมภ์นรากร

 ตำนานประวัติความเป็นโนรา ตำนานที่๑

               ตำนานที่  เล่าโดยขุนอุปถัมภ์นรากร (โนราพุ่มเทวา) อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ความว่าพระยาสายฟ้าฟาดเป็นกษัตริย์ครองเมืองๆ หนึ่ง มีชายาชื่อนางศรีมาลา มีธิดาชื่อนางนวลทองสำลี วันหนึ่งนางนวลทองสำลีสุบินว่ามีเทพธิดามาร่ายรำให้ดู ท่ารำมี ๑๒ ท่า มีดนตรีประโคม ได้แก่ กลอง ทับ โหม่ง ฉิ่ง ปี่ และแตระ นางให้ทำเครื่องดนตรีและหัดรำตามที่สุบินเป็นที่ครึกครื้นในปราสาท

ตัดผมผีช่อโนราโรงครู

ตัดผมผีช่อโนราโรงครู

            ผมผีช่อคือผมที่จับตัวกันเป็นกระจุกโดยธรรมชาติเหมือนผูกมัดเอาไว้ตั้งแต่แรกคลอด (ปัจจุบันพบน้อยมาก) ชาวบ้านและคณะโนราบางแห่งเชื่อว่าผมผีช่อเกิดจากความต้องการของครูหมอโนราที่จะทำให้บุคคลบางคนมาเป็นโนราหรือคนทรงครูหมอโนรา จึงผูกผมเป็นเครื่องหมายไว้ เชื่อกันว่าถ้าใครตัดผมนี้ออกด้วยตัวเองจะเกิดโทษภัย แต่แก้ได้โดยให้โนราใหญ่ตัดออกให้ในพิธีกรรมโนราโรงครู ผมที่ตัดออกแล้วให้เก็บไว้กับตัวผู้เป็นเจ้าของ เชื่อว่าจะเป็นของขลังสามารถป้องกันอันตรายได้ ทั้งนี้ โนราใหญ่ต้องทำพิธีขออนุญาตจากครูหมอโนราเสียก่อน เพราะแม้นจะตัดผมออกก็จะผูกผมใหม่อีกผู้เข้าพิธีต้องเตรียมพานดอกไม้ธูปเทียน เงิน ๑๒ บาท มามอบให้โนราใหญ่ คณะโนราเตรียมกรรไกร มีดหมอหรือพระขรรค์เอาไว้

พิธีกรรมรักษาโรคด้วยฤทธิ์ครูหมอโนรา


พิธีกรรมรักษาโรคด้วยฤทธิ์ครูหมอโนรา

๑. พิธีกรรมหาสาเหตุการเจ็บป่วย

                       หลังจากที่ผู้ป่วยแสดงอาการเจ็บป่วยที่สามารถให้ความหมายเฉพาะว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากการกระทำของครูหมอโนราแล้ว  ญาติผู้ป่วยหรือผู้ใกล้ชิดก็จะดำเนินการจัดหาคนกลางมาติดต่อกับครูหมอเพื่อทราบสาเหตุของการเจ็บป่วยและต่อรองเพื่อหาวิธีการแก้ไขต่อไป  ซึ่งขั้นตอนสำคัญๆ สำหรับพิธีกรรมนี้  มีดังนี้

โรคโนราย่างฤทธิ์อำนาจครูหมอโนรา

 

โรคโนราย่างฤทธิ์อำนาจครูหมอโนรา

              โรคหรืออาการเจ็บป่วยที่ชาวไทยภาคใต้มีความเชื่อว่าเกิดจากอำนาจหรือการกระทำของสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ  ในกรณีนี้หมายถึง “ครูหมอโนรา” (ครูหมอโนราถือเป็นบรรพบุรุษของโนรา  สามารถรำโนราได้  คนไทยทางภาคใต้ส่วนใหญ่มีบรรพบุรุษเป็นโนรา เพราะเชื่อว่าเป็นศิลปะชั้นสูง มีต้นกำเนิดมาจากกษัตริย์  คนที่จะรำโนราได้จึงหมายถึงเป็นคนที่มีบุญญาบารมี ดังนั้นในอดีตคนส่วนใหญ่จึงมีการหัดรำโนรากันโดยเหตุนี้ทำให้คนไทยทางภาคใต้มักมีเชื้อสายของโนรา) ซึ่งการจะหายขาดได้นั้นต้องได้รับการยินยอมจากครูหมอโนราก่อน เมื่อผู้ใดเกิดการเจ็บป่วยหรือมีอาการที่เชื่อว่าครูหมอโนราเป็นผู้กระทำก็จะมีพิธีกรรมเฉพาะสำหรับการเยียวยารักษาหรือแก้ไขภาวะการเจ็บป่วยนั้น  โดยผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยสามารถติดต่อครูหมอผู้กระทำโดยผ่านร่างทรงเพื่อให้ครูหมอยินยอมรักษาเยียวยาและยกโทษให้   โรคหรืออาการเจ็บป่วยนั้นมีลักษณะเฉพาะตามความเชื่อซึ่งชาวไทยทางภาคใต้ได้ให้ความหมายของโรคหรืออาการนั้นว่า  “โนราย่าง” (โนราย่าง (มโนห์ราย่าง) เป็นอาการที่บุคคลป่วยกระเสาะกระแสะ  เนื่องจากครูหมอโนราให้โทษ จะรักษาเยียวยาหรือหาหมอหรือทำการรักษาอย่างไรก็ไม่หาย  อาการมีแต่ทรงกับทรุดแต่จะไม่ถึงตาย  ส่วนใหญ่มักซูบผอมไม่ยอมกินข้าวกินปลา   ซักถามสิ่งใดก็ไม่ค่อยพูดหรือพูดแต่จับใจความไม่ได้  ร่างกายมีสภาพเขียวคล้ำคล้ายผิวเกรียมไหม้)    ซึ่งอาการเช่นนี้ชาวบ้านมีความเชื่อกันว่า  อาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งต่อไปนี้