ทำไมถึงต้องมีการทำโนราโรงครู
(โนราโรงครูของคณะโนราประสงค์ กำพลศิลป์)
ตามประวัติเรื่องโนราเกิดขึ้นในบริเวณรอบๆทะเลสาบสงขลาคือเขตของจังหวัด พัทลุงและจังหวัดสงขลาในปัจจุบัน(ค้นดูประวัติโนราได้จากเว็บไซท์ของสมาคม ปักษ์ใต้ในพระราชูปถัมภ์)
เพราะฉะนั้นผู้คนรอบๆบริเวณทะเลสาบสงขลาส่วนมากเป็นลูกหลานของคนสืบเชื้อสาย มาจากโนราเหล่านั้น
ศิลปะการรำโนราเป็นศิลปะที่อ่อนช้อยแต่ทะมัดทะแมงต้องเข้ากับดนตรีคือ กลอง ทับ โหม่ง ฉิ่งและปี่
คนตีเครื่องต้องตีไปตามท่ารำของคนรำ เมื่อคนรำเปลี่ยนท่ารำ คนตีเครื่องต้องเปลี่ยนจังหวะไปตามนั้น
จังหวะเหล่านี้จะร้าวใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งคนรำและคนดูจะซึ้งในบทกลอนและจังหวะรำเหล่านี้
(โนราโรงครูของคณะโนราประสงค์ กำพลศิลป์)
พูดอีกอย่างหนึ่งคือวิญญาณศิลปินเต็มเปี่ยมทีเดียว
คนเหล่านี้คือตัวผู้เป็นโนราเองเมื่อตายไปแล้ววิญญาณยังเป็นโนราอยู่ยัง ไม่หายไปไหนเขายังอยู่กับลูกหลานเหลนต่อๆไป ลูกหลานเหลนเหล่านั้นก็ยังคงนับถือกราบไหว้บรรพบุรุษโนราของพวกเขา
เมื่อมีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจอะไรขึ้นมาเขาจะบนบานต่อบรรพบุรุษของเขาให้
ช่วยเหลือถ้าสำเร็จขึ้นมาเขาจะรำโนราโรงครูถวายหรือเกิดได้โชคลาภขึ้นมา ที่เขาคิดว่าบรรพบุรุษของเขาให้มาเขาก็จะทำโนราโรงครูถวายเช่นกัน
นี่คือเป็นที่มาที่ไปของเรื่องการทำโนราโรงครู แต่อย่าเข้าใจผิดคิดว่ามีการเชิญโนรามารำถวายแก่บรรพบุรุษผู้ร่วงลับไป
แล้วเหล่านั้น แต่เป็นเรื่องกลับกันคือวิญญาณบรรพบุรุษโนราเหล่านั้นจะมาเข้าคนทรงแล้วรำโนราให้ลูกหลานชมเสียเอง
นี่คือเรื่องที่น่าสนใจน่าศึกษาซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดแปลกแตกต่างจากการทรง เจ้าเข้าทรงต่างๆ
ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล จากเว็บไซต์โนรา
คึกษาค้นคว้าข้อมูลโดย โนราบรรดาศักดิ์ พิทักษ์ศิลป์
คึกษาค้นคว้าข้อมูลโดย โนราบรรดาศักดิ์ พิทักษ์ศิลป์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น