ความสำคัญของดนตรีโนราและจังหวะประกอบการบรรเลง
การแสดงโนรา
โรงครู ดนตรีจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการแสดง
จังหวะดนตรีที่ปรากฏในพิธีกรรมและการแสดง จะมีจังหวะที่สำคัญดังนี้
(ภาพลูกคู่โนราโรงครู)
1. จังหวะเชิด จะในพิธีกรรมตอนที่สำคัญทุกครั้ง เช่น
วิญญาณครูโนรากำลังประทับในร่างทรง การครอบเทริดของครูโนราแก่ศิษย์ การรักษาโรคเสน
โดยใช้ปลายเท้าแตะบริเวณเสน การเซ่นไหว้อาหารและอุปกรณ์พิธีกรรมต่างๆ จะใช้ดนตรีจังหวะเชิดเพราะเสียงกลองและทับที่บรรเลงจะดังและมีจังหวะรวดเร็ว
ทำให้รู้สึกตื่นเต้นและเร้าใจตลอดเวลา
ลักษณะเฉพาะของจังหวะจะเริ่มจากช้าก่อนแล้วค่อยเร่งจังหวะให้เร็วขึ้น
2. จังหวะเชิญตายาย จะใช้ในวิธีร้องเรียก
หรือเชื้อเชิญวิญญาณบรรพบุรุษให้มาประทับทรง
(ภาพลูกคู่โนราโรงครู)
3. จังหวะเพลงโทน จะใช้ประกอบการร้องกาศครูโดยทั่วไป
ที่มิได้มาประทับทรงและใช้บรรเลงประกอบการรำในบทสำคัญต่างๆเช่นการแสดงสิบสองเรื่อง
การรำบทตั้งเมือง ฯลฯ
4. จังหวะเฉพาะเพลง จะเป็นจังหวะที่ใช้ประกอบในการร้องแต่ละบท
โดยไม่ปรากฏนำไปใช้ร้องในบทอื่น เช่น บทแสงทอง บทฝนตกข้างเหนือฯลฯ
ขอขอบคุณข้อมูลโนราจากเอกสารจากมหาวิทยาลัยทักษิณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น