รูปแบบโรงโนราโรงครู
(รูปแบบโรงโนราโรงครู)
โรงโนรา สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 9 ศอก ยาว 11 ศอก (6 x 8 เมตร) มีเสา 8 ต้น ไม่ยกพื้น แบ่งออกเป็น 3 ตอน เสาด้านหน้าและหลังมีเสาละ 3 ต้น ส่วนตอนกลางมี 2 ต้น ไม่มีเสากลาง หันหน้าโรงไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้ เรียกว่า “ลอยหวัน” (หันด้านยาวไปตามตะวัน) ไม่หันหน้าทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก เพราะเป็นการ “ขวางหวัน” (ขวางตะวัน)
ความเชื่อของโนราว่าอัปมงคล หลังคาเป็นรูปจั่วมุงจาก ตรงกลางจั่วครอบด้วยกระแชง ถ้าไม่มีกระแชงก็ใช้ใบเตยแทน
(รูปแบบโรงโนราโรงครู)
การที่ต้องครอบกระแชงนัยว่าเป็นเครื่องระลึกถึงนางนวลทองสำลี เมื่อถูกลอยแพไปในทะเลได้อาศัยกระแชงเป็นเครื่องมุงแพเพื่อกันแดดกันฝน ด้านหลังโรงทำเป็นที่พักคณะโนรา (2
x 8 เมตร) ด้านขวาของโรงคาดเป็นร้านสูงระดับสายตา จากเสาโรงออกไปรับกับ ไม้ชายคา ทำเป็นที่วางเครื่องบูชา เรียกว่า “ศาล” หรือ “พาไล”บริเวณโรงด้านหน้าข้างซ้ายจากเสาข้างโรงประมาณ 2 ฟุต มีพนักทำด้วยไม้ไผ่กลมให้โนรานั่งรำหันหน้าไปทางศาล
พื้นโรงปูด้วยเสื่อกระจูดเต็มโรง ตอนกลางจะปูด้วยเสื่อคล้าขนาดใหญ่ เพื่อสะดวกในการรำ และบริเวณโคนเสารอบโรงด้านหน้า สูงจากพื้น 1 ฟุต จะผูกไม้ไผ่กลมกั้นเป็นอาณาเขตโดยรอบ
และใช้สำหรับนักดนตรีนั่งพักผ่อน เรียกว่า “นักพิง
ขอขอบคุณข้อมูลจากเอกสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น