การพัฒนาหนังตะลุงและโนราในฐานะสื่อพื้นบ้าน
บริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
โนรา
การพิจารณาลักษณะการเปลี่ยนแปลงของโนราในยุคที่ 4 (ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2526
ถึงปัจจุบัน)
ในช่วงเวลาดังกล่าวจะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่สืบเนื่องมาแล้วตั้งแต่ยุคที่ 3
ทั้งรูปแบบเนื้อหา ขนบนิยมในการแสดง องค์ประกอบในการแสดง ความเชื่อ
(ภาพโนราพิธีกรรมโรงครู)
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง การปรับตัวของศิลปินและชุมชน
ในกรณีของโนราพบว่าไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแบบหนังตะลุง
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของโนราเป็นเพียงการปรับปรุงการแสดงให้เหมาะสมกับงานที่รับไปแสดงหรือปรับตามความต้องการของเจ้าภาพที่จะให้เน้นการร่ายรำโนราแบบโบราณไม่เน้นการแสดงเรื่องหรือนวนิยาย
และดนตรีลูกทุ่ง หรือต้องการให้แสดงแบบสมัยใหม่ มีดนตรีลูกทุ่ง
มีนักเต้นประกอบเพลงหรือหางเครื่องอย่างครบครัน โนราก็สามารถตอบสนองได้ เช่น
โนราสมพงษ์น้อย ดาวรุ่ง จะมีงานแสดงตามที่ต่าง ๆ
หรืองานประจำปีของทางราชการในลักษณะการรับเหมางานกับเครือบริษัทที่สังกัด
ได้ปรับรูปแบบการแสดงของคณะเช่นเดียวกับวงดนตรีลูกทุ่ง
โดยเจ้าภาพงานไม่ต้องดำเนินการ เช่น ฝ่ายเวที ฝ่ายจัดเก้าอี้ – ที่นั่ง ฝ่ายแสงเสียง ฝ่ายเก็บบัตรค่าเข้าชม ฝ่ายวงดนตรีนักร้อง
ฝ่ายนางรำและผู้แสดง เมื่อเริ่มแสดงก็จัดขั้นตอนตามลำดับขั้นดังนี้คือ กาศครู
(ครูหมอโนรา) ปล่อยนางรำเป็นชุดรำแบบโบราณ แสดงเรื่องแล้วต่อด้วยการแสดงดนตรี
จนถึงเวลา 02.00 น. จบการแสดง
(ภาพโนราพิธีกรรมโรงครู)
การเปลี่ยนแปลงของโนราจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านองค์ประกอบของการแสดงและขั้นตอนในการแสดง
เช่น การเพิ่มจำนวนผู้ร้าโนราที่เป็นชุดนางรำให้มากขึ้น นำเอาการร่ายรำแบบโบราณ
เช่น รำยั่วปี่ยั่วทับ รำขอเทริด รำท้าบท มานำเสนอในบางส่วนด้วย
นอกจากนั้นเป็นการเพิ่มอุปกรณ์แสง สี เสียง บนเวทีให้ยิ่งใหญ่และทันสมัยยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะโรงที่เป็นโรงสำเร็จ รูปแบบเวทีการแสดงคอนเสิร์ตหรือเวทีของวงดนตรีลูกทุ่ง
ในขณะที่โนราอีกกลุ่มหนึ่งจะปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงไปตามสภาพของงาน เช่น
งานประจำปี หรืองานที่เกี่ยวเนื่องกับการอนุรักษ์ และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
การแสดงก็จะเน้นที่การร่ายรำ การทำบท ว่ากลอนมุตโตตามแบบฉบับ โดยไม่เน้นที่การแสดงเรื่องและวงดนตรี
แต่หากเป็นงานสวนสนุกหรืองาน 136 ประจำปี งานจัดรายการของนักธุรกิจบันเทิง
โนรากลุ่มนี้ก็สามารถว่าจ้างวงดนตรี นางร้าหรือสับเปลี่ยนกับคณะอื่นได้
และพบว่าโนราบางคณะที่ยุบเลิกคณะของตนเอง
โดยเฉพาะนายโรงโนรายังไปรำหรือแสดงแทนให้กับโนราคณะอื่น ๆ ที่ยังทำการแสดงอยู่โดยไม่จำเป็นต้องเข้าสังกัดคณะ
เพียงแต่รับค่าตอบแทนเป็นรายคืนหรือตามที่ตกลงกันไว้ในการแสดงหรือการร่ายรำในแต่ละครั้ง
ซึ่งขึ้นอยู่กับความมีชื่อเสียงและความนิยมของประชาชนที่มีต่อโนราคนนั้น ๆ
ที่เข้าไปร่วมกับโนราคณะต่าง ๆ ดังที่กล่าวแล้ว ประเด็นดังกล่าวทำให้เรามองเห็นโครงสร้างของสังคมปัจจุบันที่มีลักษณะแยกส่วน
เกิดกลุ่มวิชาชีพในลักษณะเฉพาะ เช่น กลุ่มนักดนตรี นักรำ นักแสดง หรือทำงานแยกสาขา
แล้วเข้าทาทำหน้าที่ตามบทบาทของตน
แม้แต่การแสดงโนราก็มองเห็นภาพโครงสร้างของสังคมปัจจุบันได้อย่างชัดเจน ในกรณีการดำรงอยู่
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง การปรับตัวของศิลปินและชุมชน
เพราะต่างรับรู้ว่าการที่จะยืนหยัดเพื่อต้านกระแสความเปลี่ยนแปลงทางสังคมย่อมเป็นไปไม่ได้
เพราะจากการพัฒนาและความเจริญทางเทคโนโลยีและการเข้ามาของวัฒนธรรมการบริโภคและสื่อสมัยใหม่ในสังคมชนบทท้าให้ท้องถิ่นและชุมชนขาดความเป็นอิสระและต้องพึ่งพาจากภายนอก
ในทางวัฒนธรรมเขาไม่สามารถผลิตและดำรงวัฒนธรรมของเขาเองได้
ต้องพึ่งพาวัฒนธรรมที่คนในเมืองเป็นผู้กำหนด (โดยเอาอย่างฝรั่ง) ไม่ว่าการแต่งกาย
การกินอาหาร ความบันเทิงและความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ วัฒนธรรมประเพณีแบบดั้งเดิมสลายตัวลง
ระบบค่านิยมแบบเก่าก็สูญหายไป
สินค้าที่ถูกโฆษณาอย่างบ้าคลั่งจึงเข้ามาเป็นค่านิยมของชุมชนแทนที่ (นิธิ
เอียวศรีวงศ์. 2513 : 13) และ/หรือวิทยาการทุกแขนงพัฒนาโดยอาศัยทฤษฎีจากตะวันตก
ขาดความรู้จักตัวเองเป็นฐานเชื่อมโยงความเจริญทางเทคโนโลยีและวัตถุทั้งปวงที่ทำให้ชาวบ้านเปลี่ยนฐานะจากผู้ผลิตมาเป็นผู้บริโภค
ค่านิยมของสังคมเมืองเข้าไปทำลายค่านิยมเก่าของสังคมชนบท
อันเป็นภาพปรากฏของการเสื่อมสลายหรือการเปลี่ยนแปลงของสื่อพื้นบ้านในปัจจุบัน
เช่นเดียวกับโนรา การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงรูปแบบของตนให้เข้ากับยุคสมัยและเท่าทันกระแสสังคมเท่านั้น
จึงจะสามารถดำรงสถานภาพของความเป็นโนราหรือสื่อบันเทิงท้องถิ่นเอาไว้
(ภาพโนราพิธีกรรมโรงครู)
อย่างไรก็ตามผู้วิจัยมีข้อสังเกตว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างหนังตะลุงและโนรามีข้อแตกต่างกัน
ประการแรกคณะโนรามีจ้านวนคณะน้อยกว่าคณะหนังตะลุงในขณะที่ชุมชนขยายตัวและมีกิจกรรมบันเทิงมากขึ้น
จึงท้าให้โนราสามารถดำรงอยู่ได้ระดับหนึ่ง
ประการที่สององค์ประกอบในการแสดงโนราสามารถปรับตัวหรือมีความยืดหยุ่นในตัวเองสูง
ในระยะเวลาเดียวกันโนราสามารถน้าเสนอทั้งรูปแบบเก่าและรูปแบบใหม่ได้พร้อมกันโดยมีเงื่อนไขของงานหรือเจ้าภาพที่รับไปแสดงเป็นตัวกำหนด
ในช่วงที่วงดนตรีลูกทุ่งเป็นที่นิยม โนราก็สามารถสนองตอบค่านิยมของผู้ชมได้
ครั้นความนิยมในเรื่องดนตรีลูกทุ่งตกต่ำ
โนราก็ปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงได้ในตัวเอง
และมีการน้าเสนอได้อย่างหลากหลายในเวลาเดียวกัน
ในขณะที่การแสดงหนังตะลุงมีข้อจ้ากัดบางอย่างตามประเภทหรือชนิดของศิลปะบันเทิง
ประการที่สามซึ่งนับว่าเป็น137
(ภาพโนราพิธีกรรมโรงครู)
ฐานรองรับที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของโนราคือ
ความเชื่อในเรื่องครูหมอตายายโนราและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับโนรา มีผลโดยตรงต่อตัวศิลปินที่ต้องสืบทอดการแสดงโนรา
หรือรักษาความเป็นโนราเอาไว้
ในขณะเดียวกันชุมชนนิยมหนังตะลุงและโนราก็มีความเชื่อเรื่องเดียวกัน
การประกอบพิธีกรรมดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ชุมชนบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา
และบริเวณจังหวัดใกล้เคียง เราจึงพบว่า โนราอาวุโสที่ไม่ได้แสดงโนราเพื่อความบันเทิงเป็นอาชีพ
แต่ยังคงมีบทบาทหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมแก้บนและการร้าโนราโรงครูทั้งที่เกี่ยวข้องกับผู้มีเชื้อสายโนราโดยตรงและชาวบ้านที่นับถือครูหมอตายายโนรา
อย่างไรก็ตามพัฒนาการหรือการเปลี่ยนแปลงก็ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง ดังที่ ประหยัด
เกษม (2523 : 137) กล่าวไว้ว่า การแสดงโนราในปัจจุบันนับเป็นการค้าประเภทหนึ่ง
ซึ่งมีผู้ยึดเป็นอาชีพ
การยึดเป็นอาชีพก็ต้องหวังเพื่อให้มีเงินพอใช้ในการเลี้ยงชีวิต
การจะมีเงินพอใช้ก็จะต้อง มีคนนิยม จึงจ้าเป็นที่โนรา (รวมทั้งหนังตะลุงด้วย -
ผู้วิจัย) จะต้องปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงการแสดงของตนไปตามยุคตามความต้องการของสังคมเพื่อความอยู่รอดของ ตน
การที่โนราเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นการปรับตัวที่ท้าให้สามารถคงอยู่ในโลกบันเทิงนี้
อีกต่อไปได้ หากไม่มีการ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ก็ไม่แน่ว่าจะมีโนราให้ดูเช่นนี้อีก
หรือไม่ และเป็นที่น่ายินดียิ่งที่สถาบันการศึกษาหลายแห่ง ทั้งระดับประถม มัธยม
และ อุดมศึกษา รวมทั้งวิทยาลัยนาฏศิลป์นครศรีธรรมราช (วิทยาลัยนาฏศิลป์พัทลุง – ผู้วิจัย)
ซึ่งเป็นสถาบันที่ควรรักษาศิลปะการร้านี้ได้เปิดฝึกสอนการร้าโนราตามแบบโบราณ โดย
จ้างโนราที่มีชื่อเสียงมาสอน นับเป็นวิธีการอนุรักษ์ศิลปะการรำโนรา ไว้อย่างน่า
สรรเสริญและควรสนับสนุนอย่างยิ่งอนุรักษ์ศิลปะการรำโนรา ไว้อย่างน่า
สรรเสริญและควรสนับสนุนอย่างยิ่ง
ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลอันมีประโยชน์จาก
“ รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาหนังตะลุงและโนราในฐานะสื่อพื้นบ้าน
บริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา”
นายพิทยา
บุษรารัตน์ นางสาวอารยา ดำเรือง นายรัชการ วิชชุรังศรี นายครื่น มณีโชติ
สถาบันทักษิณคดีศึกษา
มหาวิทยาลัยทักษิณ
งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น