วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ศาสตร์และศิลป์แห่งจังหวะดนตรีโนราสู่นาฏลักษณ์ใต้


 ศาสตร์และศิลป์แห่งจังหวะดนตรีโนราสู่นาฏลักษณ์ใต้
                       การแสดงโนราโรงครูเครื่องดนตรีหรือดนตรีจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการแสดงจังหวะดนตรีที่ปรากฏในพิธีกรรมและการแสดงจะมีจังหวะและทำนองที่แตกต่างไปตามพิธีกรรมหรือการร่ายรำทำบทของโนราที่มีทักษะความสามรถเช่นโนราใหญ่ เป็นต้น โดยจะมีจังหวัดที่สำคัญและมีเอกลักษณ์ดังนี้

(ขอขอบคุณภาพโนราโรงครูจากเฟสบุค)
             ๑. จังหวะเชิด  จะในพิธีกรรมตอนที่สำคัญทุกครั้ง เช่น วิญญาณครูโนรากำลังประทับในร่างทรง การครอบเทริดของครูโนราแก่ศิษย์การรักษาโรคเสนโดยใช้ปลายเท้าแตะบริเวณเสนการเซ่นไหว้อาหารและอุปกรณ์พิธีกรรมต่างๆจะใช้ดนตรีจังหวะเชิดเพราะเสียงกลองและทับที่บรรเลงจะดังและมีจังหวะรวดเร็วทำให้รู้สึกตื่นเต้นและเร้าใจตลอดเวลาลักษณะเฉพาะของจังหวะจะเริ่มจากช้าก่อนแล้วค่อยเร่งจังหวะให้เร็วขึ้น

 (ขอขอบคุณภาพโนราโรงครูจากเฟสบุค)
             ๒. จังหวะเชิญตายาย  จะใช้ในวิธีร้องเรียกหรือเชื้อเชิญวิญญาณบรรพบุรุษให้มาประทับทรงเพื่อลงมายังบริเวณโรงพิธี หรือโรงโนราที่ได้จัดเตรียมไว้

(ขอขอบคุณภาพโนราโรงครูจากเฟสบุค)
             ๓. จังหวะเพลงโทน  จะใช้ประกอบการร้องกาศครูโดยทั่วไปที่มิได้มาประทับทรงและใช้บรรเลงประกอบการรำในบทสำคัญต่างๆเช่นการแสดงสิบสองเรื่องการรำบทตั้งเมืองฯลฯ

(ขอขอบคุณภาพโนราโรงครูจากเฟสบุค)

             ๔. จังหวะเฉพาะเพลง  จะเป็นจังหวะที่ใช้ประกอบในการร้องแต่ละบท โดยไม่ปรากฏนำไปใช้ร้องในบทอื่น เช่น บทแสงทอง บทฝนตกข้างเหนือฯลฯ
ขอขอบคุณที่ของเนื้อหาจาก เอกสารโนรามหาวิทยาลัยทักษิณสงขลา
ศึกษาและค้นหาเอกสารข้อมูลโดย โนราบรรดาศักดิ์   พิทักษ์ศิลป์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น