วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พิธีกรรมโนราการแต่งพอกไปเชิญตายายโนรา

พิธีกรรมโนราการแต่งพอกไปเชิญตายายโนรา
                       รุ่งเช้า โนรารีบตื่นขึ้นมา "แต่งพอก" หรือ "แทงพอก" เพื่อไปเชิญตายายมาร่วมพิธี เครื่องแต่งกายโนราในวันนี้มีมากขึ้นกว่าที่ใช้ในการแสดงทั่วไป คือ หลังจากสวมผ้านุ่งธรรมดาแล้ว จะต้องมีผ้าพับและพอกไว้นอกผ้านุ่งธรรมดาอีกหนึ่งผืน และมี "ห่อพอก" ซึ่งทำจากผ้าสีหรือผ้ามีลวดลายขมวดปมสองข้างผูกไว้ข้างเอว ขนาดเท่ากับห่อทุเรียนกวน สว่าง สุวรรณโร สันนิษฐานไว้ใน

การพัฒนาหนังตะลุงและโนราในฐานะสื่อพื้นบ้าน บริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

การพัฒนาหนังตะลุงและโนราในฐานะสื่อพื้นบ้าน
บริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
                           โนรา การพิจารณาลักษณะการเปลี่ยนแปลงของโนราในยุคที่ 4 (ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2526 ถึงปัจจุบัน) ในช่วงเวลาดังกล่าวจะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่สืบเนื่องมาแล้วตั้งแต่ยุคที่ 3 ทั้งรูปแบบเนื้อหา ขนบนิยมในการแสดง องค์ประกอบในการแสดง ความเชื่อ 

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เกียรติยศและศักดิ์ศรีแห่งคำว่าโนรา

เกียรติยศและศักดิ์ศรีแห่งคำว่าโนรา
                          คนพื้นเมืองแต่ก่อนถือกันว่า ศิลปะการแสดงเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตา เป็นศาสตร์ชั้นแนวหน้าที่ทุกคนต้องเรียนรู้ ต้องสนใจ และพยายามทำให้ได้

สภาพของการแสดงโนราโรงครูในปัจจุบัน

สภาพของการแสดงโนราโรงครูในปัจจุบัน
                        การแสดงโนราโรงครูในปัจจุบันยังมีปรากฏให้แสดงอยู่ในชุมชนภาคใต้ตามขนบประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างหนาแน่น  ไม่ว่าจะเป็นสังคมเมืองหรือสังคมชนบท  

Nora Thailand (โนราประเทศไทย)

Nora Thailand
                          Nora is a form of traditional, folk performing arts that is popular in the southern region of Thailand. The main elements and characteristics of Nora are the costume and the music.

การซัดท่าของโนรา


ความสำคัญของดนตรีโนราและจังหวะประกอบการบรรเลง

ความสำคัญของดนตรีโนราและจังหวะประกอบการบรรเลง
         การแสดงโนรา โรงครู ดนตรีจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการแสดง จังหวะดนตรีที่ปรากฏในพิธีกรรมและการแสดง จะมีจังหวะที่สำคัญดังนี้

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

รูปแบบโรงโนราโรงครู

รูปแบบโรงโนราโรงครู

โนราโรงครูแตกต่างจากโนราลงครูอย่างไร ?

โนราโรงครูแตกต่างจากโนราลงครูอย่างไร ?

เอกลักษณ์ของชุดลูกปัดโนรา

พิธีแก้บนของโนราโรงครู

พิธีแก้บนของโนราโรงครู

ความเชื่อเกี่ยวกับโนราและการรำโนราโรงครู

ความเชื่อเกี่ยวกับโนราและการรำโนราโรงครู
                       ความเชื่อเกี่ยวกับโนราของชาวบ้าน คณะโนรา ลูกหลานตายายโนรา อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการประกอบพิธีกรรมโนราโรงครู กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พิธีกรรมการตัดผมผีช่อ

พิธีกรรมการตัดผมผีช่อ

ทำไมถึงต้องมีการทำโนราโรงครู

ทำไมถึงต้องมีการทำโนราโรงครู

โนราโรงครูตอน พิธีกรรมผูกผ้าปล่อย

โนราโรงครูตอน พิธีกรรมผูกผ้าปล่อย

การรำสิบสองคำพรัด (สิบสองบทร้อง)

การรำสิบสองคำพรัด (สิบสองบทร้อง)

โนราโรงครูตอนพิธีกรรมการเหยียบเสน


โนราโรงครูตอนพิธีกรรมการเหยียบเสน
                           เสนเป็นเนื้องอกที่นูนขึ้นจากระดับผิวหนัง เป็นแผ่น ถ้ามีสีแดง เรียกว่า เสนทอง ถ้ามีสีดำ เรียกว่า เสนดำเสนจะไม่มีอาการเจ็บหรืออาการคัดหรือมีอันตรายถึงชีวติแต่อย่างใด

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โนราโรงครูตอน การแสดงสิบสองบท



 โนราโรงครูตอน การแสดงสิบสองบท
                คือการแสดงเรื่องจากนิทานหรือนิยายต่างๆ ๑๒ เรื่องซึ่งบูรพาจารย์ได้กำหนดและแต่งเป็นบทร้องของแต่ละเรื่องไว้สั้นๆ รวมทั้งกำหนดตัวผู้แสดงไว้ด้วยดังนี้

พิธีกรรมโนราโรงครู การรำสอดกำไล (สอดไหมรยฺ)

 การรำสอดกำไล (สอดไหมรยฺ) พิธีกรรมโนราโรงครู
                      การรำสอดกำไลหรือการรำสอดไหมรยเป็นพิธีกรรมเพื่อรับศิษย์เข้าฝึกการรำโนรา ทั้งที่เป็นผู้ที่เคยได้ผ่านการหัดรำมาแล้วและยังไม่เคยได้ผ่านการหัดรำมาก่อน 

พิธีกรรมครอบเทริดผูกผ้าใหญ่

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

รูปนางโนราเรื่องพระสุธนมโนราห์ บนฝาผนังวัดมหาธาตุ ประเทศลาว



ประวัติโนราและศิลปินโนราท้องถิ่น จังหวัดพัทลุง

ประวัติโนราและศิลปินโนราท้องถิ่น
จังหวัดพัทลุง

โนราโรงครู ตอนส่งราชครูโนราครูหมอโนราสู่โลกวิญญาณ


 โนราโรงครู ตอนส่งราชครูโนราครูหมอโนราสู่โลกวิญญาณ
                            ในวันสุดท้ายซึ่งเป็นวันส่งครู โนราจะต้องใช้ความรู้ความเชิงไสยศาสตร์อย่างเต็มที่ เพื่อส่งวิญญาณตายายกลับสู่ภพวิญญาณอย่างสงบสุข และกำจัดวิญญาณฝ่ายร้ายที่เจ้าบ้านไม่ต้องการไม่ให้มาวนเวียนอยู่ใกล้บ้านเจ้าภาพ

วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ราชครูโนราและครูหมอโนรา

 
ราชครูโนราและครูหมอโนรา
                      สังคมไทยนั้นให้ความสำคัญกับครูมาตั้งแต่โบราณ เพราะเชื่อกันว่าครูคือผู้ที่ช่วยประสิทธิ์ประสาทความรู้ สร้างคนให้เป็นคน มีบุญคุณเป็นอันดับรองต่อจากบิดามารดา ศาสตร์ทุกศาสตร์จึงมีพิธีกรรมเกี่ยวกับการไหว้ครู เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการกตัญญูรู้คุณ ไม่ว่าจะเป็นสังคมโรงเรียนที่มีการไหว้ครู ทุกๆที่  โขนละครก็เป็นนาฏศาสตร์ที่มีพิธีการไหว้ครูที่เกี่ยวเนื่องกับมหาเทพ และมีสถาบันคนชั้นฟ้าที่เราหวงแหนมาร่วมพิธี เพราะได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการไหว้ครูในพิธีนี้

ตำนานเจ้าแม่อยู่หัว


 ตำนานเจ้าแม่อยู่หัว
                          เจ้าแม่อยู่หัวหมายถึง  พระพุทธรูปทองคำที่สร้างแทนตัวบุคคลที่ชาวบ้านท่าคุระบุคคลทั่วไปให้ความเคารพนับถือและเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์    ที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วจึงเป็นมรดกตกทอดมาให้คนรุ่นหลังได้เคารพสักการบูชาสืบต่อกันมา   รวมทั้งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ   ที่รวมจิตใจเป็นหนึ่งทำให้ลูกหลานเกิดความรักความสามัคคีสืบมา

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

รูปโนราโบราณสมัยรัชกาลที่ ๖ อดีตถึงปัจจุบัน นาฏศิลป์วัฒนธรรมใต้ที่ยังคงเอกลักษณ์และสืบทอดมาจวบจนปัจจุบัน

 คณะโนราสมัยรัชกาลที่ ๖ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ร่วมสืบสานวัฒนธรรมโนราภาคใต้โดย ศาสตร์แห่งครูหมอโนรา (เว็บไซต์ดีมีสาระเว็บไซต์ศาสตร์แห่งครูหมอโนรา)

ร่วมสืบสานวัฒนธรรมโนราภาคใต้โดย ศาสตร์แห่งครูหมอโนรา 
(เว็บไซต์ดีมีสาระเว็บไซต์ศาสตร์แห่งครูหมอโนรา)

"เราจะพัฒนาแหล่งความรู้โนรา สู่ความเป็นนาฎลักษณ์ และเอกลักษณ์ นาฏศิลป์ใต้"

เครื่องแต่งกายโนราและองค์ประกอบของเครื่องแต่งกายโนรา

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgf10ZH_8qLfTvHJN1zxvrTo_hZNgbfXusoa3DE3NQvxIH5wzTYx7Ubyrjmnb_Risg4KZ2IYyELQtYrUFW92eov777R0pilkydA7GlnGuyTOY1jMRNDZIlxyBNhrX4Cv81EJjMBKB9XR0FH/s1600/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2.jpg
รูปเครื่องแต่งกายโนราและองค์ประกอบของโนรา
 
ภาพโดย โนราบรรดาศักดิ์  พิทักษ์ศิลป์

รูปภาพเปรียบเทียบของลูกคู่โนราจากรูปบุคคลจริงและหุ่นรูปปั้นลูกคู่เหมือนที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา โดยโนราบรรดาศักดิ์ พิทักษ์ศิลป์

ลูกคู่โนรา  นายทับ  นายกลอง นายปี่  นายโหม่ง

ภาพแต่งโดยโนราบรรดาศักดิ์  พิทักษ์ศิลป์

วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ศาสตร์และศิลป์แห่งจังหวะดนตรีโนราสู่นาฏลักษณ์ใต้


 ศาสตร์และศิลป์แห่งจังหวะดนตรีโนราสู่นาฏลักษณ์ใต้
                       การแสดงโนราโรงครูเครื่องดนตรีหรือดนตรีจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการแสดงจังหวะดนตรีที่ปรากฏในพิธีกรรมและการแสดงจะมีจังหวะและทำนองที่แตกต่างไปตามพิธีกรรมหรือการร่ายรำทำบทของโนราที่มีทักษะความสามรถเช่นโนราใหญ่ เป็นต้น โดยจะมีจังหวัดที่สำคัญและมีเอกลักษณ์ดังนี้

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประวัติศาสตร์แห่งวงการโนราเอกลักษณ์ใต้หนึ่งเดียวในโลก



ประวัติศาสตร์แห่งวงการโนราเอกลักษณ์ใต้หนึ่งเดียวในโลก

                         โนรานับเป็นความบันเทิงทางวัฒนธรรมที่ฝังลึกในเลือดเนื้อของคนภาคใต้ โนรามีลักษณะของพิธีกรรมอยู่ในตัว บางครอบครัวต้องทำพิธีแก้บนเลี้ยงผีตายายโนรา ทั้งเพื่อเซ่นผีบรรพบุรุษ และเพื่อความสงบเรียบร้อยความรุ่งเรืองของชีวิตสมาชิกในบ้าน 

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โนรานาฏศิลป์แห่งการรำที่มีเอกลักษณ์มาอย่างยาวนานนับหลายร้อยปี

โนรานาฏศิลป์แห่งการรำที่มีเอกลักษณ์มาอย่างยาวนานนับหลายร้อยปี
                        โนราเป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาศิลปะการแสดงของภาคใต้ มีความยั่งยืนมานับเป็นเวลาหลายร้อยปี การแสดงโนราเน้นจะเน้นการร้อง การรำ บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง และบางโอกาสมีบางส่วน แสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม 

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

๘ ตำนานโนรา ศาสตร์แห่งภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมภาคใต้

๘ ตำนานโนรา ศาสตร์แห่งภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมภาคใต้

                โนรา เป็นการละเล่นพื้นเมืองภาคใต้ที่มีมาแต่โบราณประมาณอายุตามที่หลายๆ ท่านสันนิษฐานไว้ ตกสมัยศรีวิชัยหรือไม่ก็ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นอย่างมาก ด้วยกาลเวลาผ่านมานานเช่นนี้ ทำให้ประวัติความเป็นมาของโนราเล่าผิดเพี้ยนกัน จนกลายเป็นตำนานหลายกระแสดังนี้

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ครูหมอโนราอภินิหารของการรักษาโรค



ครูหมอโนราอภินิหารของการรักษาโรค

                           ครูหมอโนรา  คือบรรพบุรุษของโนรา  บางทีจะเรียกว่า ครูหมอตายาย  คือโนราจะนับถือครูหมอหรือครูโนรา  และนับถือบรรพบุรุษของตน  ซึ่งเรียกว่า ตายาย  คนทางภาคใต้ส่วนใหญ่มีตายายเป็นโนรา  เพราะสมัยก่อนนิยมโนรากันมาก  คนดี คนเก่ง ต้องสามารถรำโนราได้ 

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การร้องกลอนทอย ศิลปะทางนาฎลักษณ์ของบทกลอนโนราภาคใต้


การร้องกลอนทอย ศิลปะทางนาฎลักษณ์ของบทกลอนโนราใต้
     •    ความสำคัญ ใช้ในการละเล่นโนรา
     •    เนื้อหา กลอนทอย : เป็นกลอนในรูปแบบอย่างหนึ่ง ในการขับบทร้องโดยเฉพาะของโนราห์เป็นลักษณะของกลอนคู่ 
     •    ลักษณะ  โดยมีการบังคับฉันทลักษณ์ได้ดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ศาสตร์แห่งพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์โนราแทงเข้ โรงครูใหญ่



ศาสตร์แห่งพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์
โนราแทงเข้ โรงครูใหญ่

                     การรำแทงเข้ (จระเข้) ใช้รำในพิธีกรรมโรงครูเท่านั้น โดยจะรำหลังจากคล้องหงส์แล้ว ผู้รำมี 7 คน โนราใหญ่รำเป็น นายไกรที่เหลืออีก 6 คน เป็นสหายของนายไกร อุปกรณ์มีเข้(จระเข้) 1 ตัว ทำจากต้นกล้วยพังลา (กล้วยตานี) ต้นโต ๆ ขุดให้ติดเหง้า นำมาแกะสลักส่วนเหง้าให้เป็นหัวเข้ 

วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โรงพิธี และเครื่องบูชา โนราโรงครูใหญ่ฉบับโบราณ


โรงพิธี และเครื่องบูชา โนราโรงครูใหญ่ฉบับโบราณ

โรงพิธี โนราโรงครูใหญ่
                  โรงพิธี  สร้างแบบดั้งเดิม  ขนาด  9 x 11  ศอก มี 6 เสา  ไม่ยกพื้น  โดยแบ่งออกเป็น  3  ตอน  เสาตอนหน้าและตอนหลังมีตอนละ 3 เสา  ส่วนตอนกลางมี  2  เสา  ไม่มีเสากลาง  หน้าโรงหันไปทางทิศเหนือหรือใต้  เรียกว่า  ลอยหวัน(ลอยตามตะวัน)  ไม่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก  เพราะเป็นการ  ขวางหัน”  (ขวางตะวัน) ตามความเชื่อของโนราว่าเป็นอัปมงคล  

วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โนรา ศาสตร์แห่งการรักษาโรค




โนรา ศาสตร์แห่งการรักษาโรค

"เอวองค์ยามอ่อนช่างอ้อยอิ่ง     ยามเยื้องยิ่งแกว่งกวัดสะบัดไหว
ปะ ทิง เทิ่ง เทิ่ง ปะ ประโคมไป      อ่อนแข็งเคลื่อนไหวได้สมงาม
รู้ฝืนรู้ปรับบังคับร่าง    เป็นท่าทางคล้องใจให้ไหวหวาม
สีหน้าสื่อบทบาทวาดร่างตาม   สืบความงามตามอย่างทางโนรา"

                                                           สุรินทร์   มุขศรี : ประพันธ์ 
(คัดจาก นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม” : ๒๕๔๐)

              มโนห์รา  หรือ โนรา  ตามความเข้าใจของคนทั่วไปหมายถึง  มหรสพพื้นบ้านที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนานและเป็นที่นิยมแพร่หลายในท้องถิ่นทางภาคใต้มาแต่อดีต  โดยถือเป็นการละเล่นที่มีลีลาร่ายรำประกอบจังหวะและมีท่วงทำนองเร่าร้อน เน้นเครื่องดนตรีประเภทตีและเป่าซึ่งให้ความสำคัญกับการร่ายรำเป็นส่วนใหญ่  รองลงมาคือการทำบท (แสดงท่าทางประกอบบทร้อง

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของการกำเนิดพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ พิธีกรรมโนราโรงครู



ความเป็นมาของการกำเนิดพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์  
พิธีกรรมโนราโรงครู

          โนราโรงครูคงมีมาพร้อมกับการกำเนิดโนรา  ซึ่งบางท่านสันนิษฐานว่าเกิดครั้งยุคศรีวิชัย  ในตำนานโนราในเขตพัทลุงกล่าวถึงการรำโนราโรงครูว่า  เมื่อนางนวลทองสำลีถูกเนรเทศไปติดอยู่เกาะกะชัง  (เชื่อกันว่าเป็นส่วนหนึ่งของเกาะใหญ่ในทะเลสาบสงขลา)  นางได้อาศัยอยู่กับตาพราหมณ์  ยายจันทร์  ครั้นพระยาสายฟ้าฟาดผู้เป็นพระบิดาให้รับนางคืนกลับเมือง  นางได้รำโนราถวายเทวดาและตายายทั้งสอง  เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อตายายที่ได้ช่วยเหลือ  การรำโนราถวายเทวดาและบูชาตายายของนางนวลทองสำลีครั้งนั้นถือว่าเป็นการรำโนราโรงครูครั้งแรก  แต่ทาง  จ.สงขลา  โนราวัด  จันทร์เรือง  ต.พังยาง  อ.ระโนด  เล่าว่า  การรำโนราโรงครูครั้งแรกเป็นการรำของ

วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พิธีสมโภชและสรงน้ำเจ้าแม่อยู่หัว (งานตายายย่าน)



พิธีสมโภชและสรงน้ำเจ้าแม่อยู่หัว (งานตายายย่าน)
"เจ้าแม่อยู่หัว" เป็นพระพุทธรูปทองคำปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ เซนติเมตร สูงประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ชาวบ้านท่าคุระ และตำบลใกล้เคียงเชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง และเคารพเจ้าแม่อยู่หัวเช่นเดียวกับครูหมอโนรา ดังนั้นจึงต้องจัดโนราโรงครูมารำถวายทุกวันพุธแรกของข้างแรมเดือน ๖ ของทุกปี (ถ้าวันตรงกับวันพระ ให้เลื่อนเป็นพุธถัดไป) เรียกว่า "งานตายายย่าน"

                   พิธีสมโภชและสรงน้ำเจ้าแม่อยู่หัว (งานตายายย่าน) เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวบ้านท่าคุระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จัดเป็นประจำปีในวันพุธแรกของข้างแรมเดือนหก

ข่าวประชาสัมพันธ์ เชิญเข้าร่วมพิธกรรมโนราโรงครู วัดท่าแค อ.เมือง จ.พัทลุง เริ่มตั้งแต่วันที่ 22-25 พค. 56




โนราโรงครูท่าแค

           จัดขึ้นเพื่อสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น และการไหว้ครูหมอโนรา ซึ่งถือเป็นพิธีกรรมสำคัญของเชื้อสายนักแสดงมโนราห์ในภาคใต้ทั้งนี้ การแสดงมโนราห์หรือ โนรา มี 2 ลักษณะ คือมโนราห์เพื่อพิธีกรรม และการแสดงมโนราห์เพื่อความบันเทิง 
           โดยมีหลักฐานเชื่อว่ามโนราห์ หรือโนรา มีถิ่นกำเนิดในจังหวัดพัทลุง และแพร่หลายไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วภาคใต้ โดยเฉพาะในจังหวัดพัทลุงเอง

ประวัติมโนรา (เล่าจาก อาจารย์เจิม เศรษฐ์ณรงค์)



ประวัติมโนราห์ (เล่าจาก อาจารย์เจิม เศรษฐ์ณรงค์) 

                กาลครั้งนั้น ยังมีพระยาเมืองพัทลุง กับพระมเหสี ได้ครองคู่กันมาหลายปี แต่ก็หาได้มีบุตรไว้สืบสกุลสักคน ทั้งพระสามี และมเหสี ได้ตกลงกันจุดธูปเทียน บนบานศาลกล่าว แด่เทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ช่วยประทานบุตรให้สักคน จะเป็นหญิงก็ได้ ชายก็ดี ไว้เป็นทายาทสืบสกุลต่อไป
               อยู่มาวันหนึ่งพระมเหสี บอกพระสามีว่ากำลังทรงมีพระครรภ์ พระสามีได้ฟัง ก็ดีพระทัยมาก ต่อมาเมื่อครบกำหนดประสูติกาลได้ประสูติพระธิดา จึงได้ตั้งชื่อว่า ศรีมาลา เจริญวัยมาได้ประมาณ 5 - 6 เดือน ก็เริ่มรำ ทำมือพลิกไปพลิกมา นางสนมพี่เลี้ยง ก็เลยร้องเพลง หน้อย ๆ ๆ จนเคยชิน ตั้งแต่เล็กจนโตรำมาตลอด ถ้าหากวันใดไม่ได้รำ ข้าวน้ำจะไม่ยอมเสวย ส่วนพระบิดาก็ร้อนใจ และละอายต่อไพร่ฟ้า ประชาชน ที่พระธิดาโตแล้วยังรำอยู่ เช่นนั้น ไม่รู้จะทำอย่างไร ส่วนประชาชนก็พากันติฉินนินทาไม่ขาดหู เลยตัดสินใจ ให้ทหารนำไปลอยแพในทะเล แม่ศรีมาลาต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส จนสลบนอนแน่นิ่งอยู่บนแพนั้น แพถูกคลื่นลมพัดพาไปตามกระแสน้ำตามยถากรรม จนกระทั่งไปติดอยู่กับโขดหิน ใกล้กับเกาะสีชัง 


                 พ่อขุนศรัทธา ซึ่งต้องคดีการเมืองถูกนำไปกักไว้บนเกาะสีชัง พร้อมพวกพระยาต่างๆ ที่ต้องคดีเดียวกัน ถูกนำมากักขังรวมกัน เป็นนักโทษการเมือง บนเกาะแห่งนี้ ในวันนั้น พ่อขุนศรัทธา ได้ลงไปตักน้ำ เพื่อจะชำระร่างกาย บังเอิญมองไปในทะเล ได้เห็นแพลำหนึ่งลอยมาติดอยู่ ที่โขดหินใกล้เกาะ และมีคนๆ หนึ่งนอนอยู่บนแพ พอจะแลเห็นได้ถนัด ตนเองจะลงไปช่วยก็ไม่ได้เพราะน้ำบริเวณนั้นลึกมาก จึงไปบอกกับพระยาโถมน้ำ ซึ่งเป็นผู้มีวิชาอาคม เดินบนน้ำได้ ให้ไปช่วย พระยาโถมน้ำรับปากแล้ว ได้ลงมาดู เห็นเป็นดังที่ขุนศรัทธาพูดจริง จึงตัดสินใจเดินไปบนน้ำ ลากแพเข้าหาฝั่งได้ แต่จะทำอย่างไร ผู้หญิงที่นอนอยู่ในแพยังสลบไศลไม่ได้สติ จึงได้เรียกบรรดาพวกพระยาทั้งหมด ให้มาดูเผื่อจะมีผู้ใดมีปัญญาช่วยเหลือได้
                  ขณะนั้น พระยาลุยไฟซึ่งร่วมอยู่ในกลุ่มนั้นด้วย คิดว่าผู้หญิงคนนี้ คงไม่เป็นอะไรมาก คงเนื่องจากความหนาวเย็นนั่นเอง ที่ทำให้เธอไม่ได้สติ เมื่อคิดได้ดังนั้นจึงสั่งให้พวกพระยาทั้งหลาย ช่วยกันหาไม้ฟืนมาก่อไฟสักกองใหญ่ แล้วพระยาลุยไฟก็อุ้มเอาร่างผู้หญิงคนนั้น เดินเข้าไฟในกองไฟ ความหนาวที่เกาะกุมนางอยู่ เมื่อถูกความร้อนจากกองไฟ ก็เริ่มผ่อนคลายและรู้สึกตัวในเวลาต่อมา เมื่อเห็นว่าเธอปลอดภัยแล้ว จึงนำนางขึ้นไปยังที่พัก และให้ข้าวปลาอาหารแก่นาง จนมีเรี่ยวแรงปกติขึ้น เมื่อมีเรี่ยวแรงดีแล้ว แม่ศรีมาลาก็เริ่มรำอีก ทำให้พวกพระยาทั้งหลายพากันแปลกใจ พากันถามไถ่ไล่เรียง แม่ศรีมาลาจึงเล่าความเป็นมาทั้งหมดให้พวกพระยาฟัง พวกพระยาทั้งหมดต่างก็คิดกันว่า จะทำอย่างไรต่อไปดี พระยาคนหนึ่ง จึงเสนอให้พ่อขุนศรัทธา นำแม่ศรีมาลาไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ส่วนเรื่องการร่ายรำของเธอ จะมอบให้พระยาเทพสิงหร ไปประชุมพระยาให้ช่วยกันจัดการ ในเครื่องดนตรี และพระยาเทพสิงหร เป็นหัวหน้าคณะ 

                  เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามที่ตกลงกันแล้ว ก็ยังมีเหลืออีกอย่าง คือชื่อคณะ ให้ทุกคนช่วยกันคิดว่าจะตั้งชื่อคณะว่าอย่างไร แม่ศรีมาลาได้ยินดังนั้น จึงคิดขึ้นมาได้ว่า ตอนที่ลอยอยู่ในทะเล เธอได้ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้ จึงบอกพระยาทั้งหลายว่า ชื่อคณะสมควรจะใช้ชื่อว่า "คณะมโนราห์" เพราะเมื่อชาติก่อน หนูเคยเกิดเป็นมนุษย์ครึ่งนก หนูชื่อ มโนราห์ ทุกคนพูดว่า จำชาติเกิดปางก่อนได้ด้วยหรือ แม่ศรีมาลาตอบว่า จำได้ทุกชาติ หนูเกิดมาทั้งหมด 12 ชาติ รวมทั้งชาติปัจจุบันด้วย เหล่าพระยาจึงว่า ถ้าอย่างนั้นหนูช่วยเล่าเรื่องราวแต่ละชาติให้พวกเราฟังเถิด แม่ศรีมาลารับคำ แล้วก็เริ่มเล่าเรื่องแต่ละชาติปางก่อนให้ฟัง ชาติเกิดทั้ง 12 ชาติมีดังนี้
  • ชาติที่ 1 เกิดเป็นผู้หญิง ชื่อ มโนราห์
  • ชาติที่ 2 เกิดเป็นผู้หญิง ชื่อ เมรี
  • ชาติที่ 3 เกิดเป็นผู้หญิง ชื่อ ทิพย์เกสร
  • ชาติที่ 4 เกิดเป็นผู้หญิง ชื่อ อัมพันธุ์
  • ชาติที่ 5 เกิดเป็นผู้หญิง ชื่อ รจนา
  • ชาติที่ 6 เกิดเป็นผู้ชาย ชื่อ จันทร์โครพ
  • ชาติที่ 7 เกิดเป็นผู้หญิง ชื่อ โมรา
  • ชาติที่ 8 เกิดเป็นผู้หญิง ชื่อ เกตุบุปผา
  • ชาติที่ 9 เกิดเป็นผู้ชาย ชื่อ สังข์ศิลป์ชัย
  • ชาติที่ 10 เกิดเป็นผู้หญิง ชื่อ ยอพระกลิ่น
  • ชาติที่ 11 เกิดเป็นผู้ชาย ชื่อ ไกรทอง
  • ชาติที่ 12 เกิดเป็นผู้หญิง ชื่อ ศรีมาลา


                 ฉะนั้น การตั้งชื่อคณะ ขอตั้งชื่อตามชื่อชาติที่หนึ่ง เพราะเป็นนักฟ้อนรำ หนูเป็นพวกกินรี ครึ่งมนุษย์ครึ่งสัตว์ จึงขอตั้งชื่อคณะว่า "มโนราห์" พวกพระยาได้ฟังดังนั้น จึงตอบตกลง จึงได้ชื่อว่า มโนราห์ มาจนทุกวันนี้
 ในฐานะพระยาเทพสิงหร เป็นหัวหน้าคณะ และได้ตั้งคณะมโนราห์ขึ้น มโนราห์โรงนี้ จึงเรียกกันว่า มโนราห์เทพสิงหร กาลเวลาผ่านมาพอสมควร คณะมโนราห์เทพสิงหร ได้แสดงไปเรื่อยๆ จนข่าวลือไปทั่วสารทิศ จนทราบไปถึง พระยาพัทลุง พระบิดา ซึ่งรู้เพียงว่า มโนราห์เทพสิงหรแสดงดีมาก จึงรับสั่งให้ทหารไปรับมาแสดงในพระราชวัง มโนราห์ก็มาแสดงตามคำเรียกร้อง พระยาเมืองพัทลุง ได้ทอดพระเนตรการแสดง ก็ทรงชื่นชมพอพระทัย พอถึงฉากแม่ศรีมาลาออกมารำ เจ้าเมืองก็จำไม่ได้ว่าเป็น แม่ศรีมาลา เพราะแต่งกายในชุดมโนราห์ ดูผิดแปลกไป มีรูปทรงน่ารักน่าเอ็นดู พร้อมทั้งมีเสน่ห์เย้ายวนใจ เมื่อแม่ศรีมาลา นั่งอยู่บนเตียงตั่ง(ที่นั่งไม่มีพนัก) สำหรับมโนราห์นั่ง เจ้าเมืองก็ลุกจากที่ประทับ เดินเข้าไปในโรงมโนราห์ ด้วยความเสน่หา แล้วได้จูงมือแม่ศรีมาลา พาไปยังตำหนัก และเข้าไปในห้องทรง ให้แม่ศรีมาลา เปลี่ยนเครื่องทรงชุดมโนราห์ออก แล้วร่วมสมสู่กับกับนาง แม่ศรีมาลาเห็นผิดปกติ ก็เลยบอกความจริงว่า พระบิดาเจ้าข้า หม่อมฉัน เป็นลูกของท่านน๊ะ ลูกที่ท่านลอยแพไป หม่อมฉันยังไม่ตาย แพไปติดอยู่ที่เกาะสีชัง พวกพระยาทั้งหลายเขาเลี้ยงหม่อมฉันไว้ แล้วได้ตั้งคณะมโนราห์ขึ้น 

                      เมื่อได้ฟังดังนั้น ก็ทรงโกรธมาก จึงรับสั่งให้นำแม่ศรีมาลาไปถ่วงน้ำ คณะมโนราห์ทั้งหมดก็ให้ทหารควบคุมตัวไว้ ไม่ให้ออกนอกวัง ส่วนแม่ศรีมาลา เมื่อทหารกำลังนำตัวเดินลงมาจากพระตำหนัก นางได้ขอร้องให้ทหารนำตัวไปพบคณะมโนราห์ และได้กล่าวอำลาครั้งสุดท้ายด้วย ทหารจึงทำตามความประสงค์ นำตัวแม่ศรีมาลาไปพบคณะมโนราห์ ทุกคนเมื่อรู้เรื่องราวก็พากันเศร้าโศกเสียไจไปตามๆ กัน          
แม่ศรีมาลา พูดกับคณะมโนราห์ว่า หนูหมดบุญที่จะเป็นมนุษย์แล้ว เพราะเกิดมาครบสิบสองชาติแล้ว ท่านทั้งหลายไม่ต้องเศร้าโศกเสียใจ เมื่อท่านคิดถึงหนู ขอให้จัดโรงมโนราห์ขึ้น แล้วให้รำสิบสองท่า ว่าให้ครบสิบสองบท และเล่นสิบสองเรื่อง ตามชาติเกิดของหนู แล้วท่านจะได้สมหวัง หนูจะมากินกับมโนราห์เท่านั้น สรุปว่า แม่ศรีมาลาตาย เพราะถูกถ่วงน้ำ (ตายในน้ำ)

ขอขอบคุณเนื้อหา http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/history_alive/index.html
ขอขอบคุณรูปประกอบ  โนราบรรดาศักดิ์  พิทักษ์ศิลป์