ภาพโนราโรงครู
วัดมัชฌิมาวาส
ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
(ภาพโนราโรงครูวัดมัชฌิมาวาส ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา)
ภาพโนราโรงครูวัดมัชฌิมาวาส
ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นภาพเขียนสีฝุ่น
อยู่ในบริเวณ อุโบสถวัดกลาง หรือวัดมัชฌิมาวาส เป็นภาพเขียนประกอบฝาผนังเกี่ยวกับ
พุทธประวัติ เรื่อง พระมหาชนก ตอนราชาภิเษก พระมหาชนกกับพระสิมพลี
ซึ่งเป็นภาพเขียน สมัยรัชกาลที่ 4 ประมาณ พ.ศ. 2406
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในภาพจะมีมหรสพต่าง ๆ ที่มาร่วมแสดง สมโภชในงานราชาภิเษก เช่น หุ่นหลวง วงปี่พาทย์
และโนรา ภาพโนราเป็นการรำของนายโรงโนรา
ซึ่งถือพระขรรค์ มาร่ายรำและแสดงเรื่องราวต่าง ๆ เพราะในรูปภาพ
โนราแสดงท่ารำประกอบกับนายพราน ซึ่งถือดาบยื่นให้โนรา ผู้แสดงโนรา
ยังคงแต่งกายแบบโบราณคือ สวมเทริด,
เล็บ, กำไลต้นแขนปลายแขน สวมสังวาล, ทับทรวง มีเครื่องประดับ เป็นผ้าพาดไหล่ขวา
นุ่งผ้าทับสนับเพลาคาดผ้าห้อยหน้าห้อยข้างสีน้ำตาลอ่อนและเข้ม มีนักดนตรี
นั่งล้อมรอบอยู่ในโรงโนรา เป็นนักดนตรีตีทับและตีกลองอย่างละ 2 คน พร้อมกับมีปี่บรรเลงประกอบ
ผู้ชมยืนล้อมรอบโรงโนราอย่างแน่นขนัด
บริเวณด้านทิศเหนือของโรงโนรามีฝรั่งชายหญิงและลูกแต่งกายอย่างสวยงามพร้อมกางร่ม
มายืนดูโนรา นอกจากนี้บริเวณติดกับโรงโนราจะมีชายหญิงชาวจีนมายืน ด้วยเช่นกัน
ภาพดังกล่าว จะสื่อถึงขนบธรรมเนียมการชม การแสดงโนราในอดีตได้อย่างชัดเจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น