วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โนรา คืออะไร และมีที่มาอย่างไร

โนรา คืออะไร และมีที่มาอย่างไร
โดยคุณจีรวรรณ  ศรีหนูสุด
                        โนรา มโนห์รา มโนรา มโนราห์ โนห์รา และโนราห์ ต่างเป็นชื่อที่ใช้เรียกกัน จนเป็นที่สงสัยว่าแท้จริงนั้นคำใด เป็นคำที่ถูกต้องกันแน่ จากการศึกษาพบว่าสามารถเรียกได้ในทุกชื่อ (ปรีชา นุ่นสุข, ๒๕๓๗, . ()

(ภาพโนราจากโนราโรงครูท่าแค)


                        แต่ที่ในงานศึกษา ผู้เขียนขอมองโนราในฐานะของการเป็นศิลปะการแสดงเนื่องจากในการทบทวนการ ให้ความหมายเกี่ยวกับโนราข้างต้น การมองในมิติของศิลปะการแสดงนั้นเป็นมุมมองที่มีอยู่ในทุก แนวความคิดของนักคิด นักวิชาการและตัวโนราเอง บวกกับการทบทวนแนวคิดเรื่องศิลปะการแสดงก็แสดงให้ เห็นถึงความเหมาะสมของการมองโนราในมุมมองนี้ที่ทำให้เห็นถึง ลักษณะ อาการหรือการกระทำ และผล ที่จะเกิดซึ่งทำให้ให้มีความชัดเจนกับความเป็นโนรามากขึ้น โดยผู้ศึกษาขอนิยามความหมายของ ศิลปะการแสดงโนราดังนี้

(ภาพโนราโรงครูจากเพจของเฟสบุ๊ค)
                        ศิลปะการแสดงโนรา หมายถึง การแสดงอย่างหนึ่งของคนภาคใต้ที่แสดงผ่านการเคลื่อนไหวทาง ร่างกายอย่างมีจังหวะ มีวิธีการแสดงออกผ่าน การขับร้อง การพูด การรำ การเล่นเป็นเรื่อง เกี่ยวกับสิ่งที่ เป็นตำนาน ประวัติศาสตร์ ความเป็นจริง ความต้องการ ความสุข ความสนุกสนานรื่นเริง ความสุนทรียะ แห่งความงดงาม ความเศร้าโศก ความท้อถอย ความทุกข์ และปัญหาต่าง ๆ และจังหวะดนตรี ซึ่งนำมาสู่การ เกิดความรู้สึกร่วม ความบันเทิง การจัดการกับระบบอารมณ์ของคน และความรู้สึกในการอยู่ร่วมกันของคน และคนกับสิ่งอื่น ๆ มีลักษณะ คล่องแคล่ว เด็ดขาด ฉับไว หนักแน่น บึกบึน อึกทึกเร้าใจซึ่งเป็นแบบฉบับ เฉพาะของคนภาคใต้ เป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์ระหว่างความคิดกับจิตวิญญาณของผู้แสดง มีความเฉพาะ ของตัวเอง ทั้งการแต่งกาย การแสดง ความเชื่อ ที่มีความเกี่ยวข้องและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชุมชนที่มี ศิลปะการแสดงอยู่ และมีการสืบทอดผ่านการแสดงและการฝึกฝนจากรุ่นสู่รุ่น

(ภาพโนราโรงครูจากเพจของเฟสบุ๊ค)

                        จากการศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของโนรามีนักวิชาการและผู้รู้หลายท่านที่ได้ให้ทัศนะไว้ ซึ่งมีทั้งที่เหมือนและต่างกัน โดยภาพรวมพบว่า มีการกล่าวถึงการกำเนิดใน ๒ ลักษณะ คือ ๑) เกิดในพื้นที่ ภาคใต้ โดยมองว่าโนรานั้นเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย แล้วค่อยขยายออกไปสู่พื้นที่อื่นๆ อาทิ ภาคกลางแล้วปรับเปลี่ยนไปตามสภาพพื้นที่ในลักษณะละครชาตรีทั้งมองว่าเป็นของใต้แท้ ๆ ที่เกิดและ พัฒนาในพื้นที่ภาคใต้เอง (สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ , ๒๕๔๒, . ๓๘๗๑, ๓๘๗๓, เยี่ยมยง สุรกิจบรรหาร)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น