พิธีกรรมรักษาโรคด้วยฤทธิ์ครูหมอโนรา
๑. พิธีกรรมหาสาเหตุการเจ็บป่วย
หลังจากที่ผู้ป่วยแสดงอาการเจ็บป่วยที่สามารถให้ความหมายเฉพาะว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากการกระทำของครูหมอโนราแล้ว
ญาติผู้ป่วยหรือผู้ใกล้ชิดก็จะดำเนินการจัดหาคนกลางมาติดต่อกับครูหมอเพื่อทราบสาเหตุของการเจ็บป่วยและต่อรองเพื่อหาวิธีการแก้ไขต่อไป ซึ่งขั้นตอนสำคัญๆ สำหรับพิธีกรรมนี้ มีดังนี้
๑.๑
ตั้งสำรับเพื่อการสักการะครูหมอโนราที่ผู้ป่วยหรือญาติให้ความเคารพนับถือ เรียกการตั้งสำรับนี้ว่า “ที่สิบสอง” หรือ
“ข้าวสิบสอง” คือสำรับที่ประกอบด้วยถ้วยตะไล ๑๒ ใบ ใส่อาหารคาวหวาน ๑๒ ชนิด ใส่เงิน ๑๒ บาท พร้อมทั้งหมากพลู เทียน
ข้าวตอกดอกไม้
๑.๒
เมื่อตั้งสำรับเรียบร้อยแล้ว
คนกลางจะทำพิธีเชื้อคือ
การกล่าวเชิญให้ครูหมอมาบอกสาเหตุของการเจ็บป่วย
ขั้นตอนนี้จะมีทั้งคนกลางที่ติดต่อกับครูหมอโนราแล้วนำมาบอกกับผู้ป่วยหรือญาติพี่น้องหรือผู้ใกล้ชิดหรือจะเป็นการเข้าทรงคนกลางเองแล้วให้ผู้ป่วยญาติพี่น้องหรือผู้ใกล้ชิดสอบถามสาเหตุการเจ็บป่วยก็ได้เช่นกัน
๑.๓ เมื่อได้คำตอบแล้วว่าสาเหตุที่ถูกกระทำเกิดจากอะไร ก็จะมีการหาวิธีการแก้ไข
โดยมีข้อกำหนดของพันธะสัญญาว่าต้องหายจากการเจ็บป่วยภายในเวลากี่วัน หลังจากนั้นจะให้ทำอะไรบ้าง
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการรำมโนราแก้บนในพิธีมโนราลงครู
(หากไม่หายจากการเจ็บป่วยตามที่มีพันธะสัญญากันไว้ ก็จะไม่มีการดำเนินการตามขั้นตอนใดๆ อีก
แต่หากหายตามพันธะสัญญาก็จะมีการดำเนินการตามขั้นตอนของพิธีกรรมอื่นๆ ต่อไป พร้อมทั้งกำหนดว่าจะดำเนินการแก้บนได้ในช่วงใด)
หลังจากที่มีการตกลงร่วมกันระหว่างคนกลางกับครูหมอโนราแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการ “รำโนราแก้บน”
โดยจะจัดในพิธีของโนราลงครูซึ่งเป็นการจัดแสดงเพื่อเชิญวิญญาณบรรพบุรุษที่เป็นครูหมอโนรามาเข้าทรงลูกหลานที่รับอาสาเป็นคนทรงเพื่อแสดงให้เห็นถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรษและเพื่อความมีสวัสดิมงคลแก่ชีวิตครอบครัวในระหว่างนี้ก็จะมีการรำโนราถวายเพื่อแก้บนตามที่ได้สัญญากันไว้
หากไม่กระทำตามสัญญาก็อาจจะถูกลงโทษซ้ำอีก
โดยอาการเจ็บป่วยอาจจะเหมือนเดิมหรืออาจจะรุนแรงกว่าเดิมก็ได้ ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ในพิธีกรรมนี้ มีดังนี้
๒.๑
เมื่อถึงกำหนดวันที่จะดำเนินการรำโนราลงครูเพื่อแก้บนแล้ว ก็จะมีการสร้างโรงโนรา
ตั้งเครื่องบวงสรวงและเครื่องเซ่นไหว้บูชา
โดยเครื่องบวงสรวง
ประกอบด้วย หัวหมู ไก่
เหล้า หมาก พลู
บุหรี่ ธูป เทียน
ข้าวตอก ดอกไม้ ของคาว
ของหวานและมะพร้าวอ่อน
รวมแล้วครบจำนวน ๑๒ อย่าง ส่วนเครื่องเซ่นไหว้บูชาประกอบด้วย บายศรีและดอกไม้ธูปเทียน
หลังจากที่ครูหมอเข้าทรงแล้วจะต้องขึ้นไปสำรวจเครื่องบวงสรวงบูชาเหล่านี้
(เครื่องบวงสรวงจะวางไว้บนศาลาเล็กๆ บนโรงโนราทางทิศตะวันออก
ซึ่งต้องทำเป็นบันไดทอดเอาไว้ทางซ้ายมือของศาลาเพื่อให้ครูหมอที่เข้าทรงปีนขึ้นมาสำรวจเครื่องบวงสรวงบูชาได้สะดวก ส่วนทางขวามือของศาลาจะมี “เทริด” “หน้าพราน” และ “เครื่องแต่งตัวโนรา” ซึ่งถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยแขวนไว้เพื่อเป็นเครื่องบูชา)
๒.๒ วันแรกของพิธีกรรม (พิธีการของการลงโรง ครูโนราจะต้องเข้าประจำโรงในวันพุธตอนเย็น ซึ่งตามปกติจะสิ้นสุดรายการในวันศุกร์ตอนบ่ายหรือตอนเย็น หากวันศุกร์ตรงกับวันพระก็ไม่สามารถทำพิธีได้ ต้องหยุดและเลื่อนไปทำพิธีส่งครูหมออันเป็นขั้นตอนของการลาโรงในวันเสาร์ซึ่งถือเป็นวันเสร็จพิธีแทน) ในวันแรกของพิธีกรรมนี้จะมีการแสดงโนราให้คนดูเหมือนกับการแสดงในโอกาสธรรมดาที่เป็นการละเล่นหรือมหรสพทั่วๆ ไป การแสดงเริ่มตั้งแต่ตอนพลบค่ำจนถึงดึกถึงจะเลิก วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันพฤหัสบดีจะเป็นวันเริ่มพิธีลงครู โดยวันนี้จะมีการรำไหว้ครูตลอดครึ่งวันตอนช่วงเช้า (เรียกการรำไหว้ครูนี้ว่า “แต่งพอก” ในการรำแก้บนจะขาดขั้นตอนนี้ไปไม่ได้ เพราะหากไม่ได้มีการแต่งพอก การแก้บนนั้นก็จะไม่สำเร็จ โอกาสที่จะกลับมาเจ็บป่วยอีกมีความเป็นไปได้สูง ที่สำคัญโนราที่มีสิทธิ์ในการรำลงครูต้องเป็น “โนราใหญ่” (มโนห์ราที่ผ่านการปวารณาเป็นโนราโดยสมบูรณ์แล้ว โดยผ่านการบวชโนราแล้ว คือ มีการผูกข้อมือ ผูกผ้าและครอบเทริด) เท่านั้น)
๒.๓
หลังจากรำแต่งพอกเสร็จ
ต่อจากนั้นก็เริ่มพิธีเชิญครูหมอโนราเข้าทรงโดยโนราใหญ่จะรำโดยใช้
“ท่ารำเพลงครู ๑๒ ท่า” ประกอบการ “เล่นบท ๑๒”
(บท ๑๒ นี้ ถือเป็นเพลงครู
ผู้เล่นบทนี้จะหยิบยกเอานิยาย ๑๒ เรื่องมาเล่น ทำบทเพลงทับ
เพลงโทน อย่างละเรื่องๆสั้นๆ
เพื่อเป็นการสักการะครู หากไม่มีการเล่นบท
๑๒ ในขั้นตอนนี้ถือว่าพิธีไม่สมบูรณ์
การแก้บนหรือการแก้เหฺมฺรยซึ่งเป็นพันธะสัญญาจะไม่เป็นผล อาการเจ็บป่วยจะไม่หายขาด)
หลังจากนั้นโนราใหญ่จะขับร้องบทเชื้อครูหมอโนรามาเข้าทรง
(โดยปกติมีคนทรงประจำอยู่แล้ว
แต่หากคนทรงตายไปก่อนจะต้องเลือกคนทรงใหม่ทดแทน)
ลูกหลานที่เป็นเชื้อสายของครูหมอจะต้องมานั่งพร้อมหน้ากันเพื่อรอรับครูหมอซึ่งเป็นบรรพบุรุษของตน
เมื่อโนราใหญ่ขับร้องบทเชื้อครูหมอ
ดนตรีจะทำเพลงเชิดประกอบ
ถึงตอนนี้ร่างกายคนทรงจะสั่นแสดงว่าครูหมอเริ่มมาเข้าทรงแล้ว เรียกขั้นตอนนี้ว่า “จับลง”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น