วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ประวัติความเป็นมาหนังตะลุง ตามตำนานคำบอกเล่าจากอดีต

ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุง

           อุดม หนูทอง ได้กล่าวถึงประวัติหนังตะลุงสรุปได้ว่า ในบทพากย์ ฤาษีและบทพากย์พระอิศวรของหนังตะลุงได้เอ่ยอ้างเอาฤาษีชื่อ "พระอุณรุทธ ไชยเถร" เป็นอาจารย์ของหนัง การออกฤาษีของหนังตะลุงนอกจากเพื่อปัดเป่า เสนียดจัญไรแล้ว ก็เพื่อระลึกถึง "บรมราชอาจารย์" ผู้นี้ ซึ่งดูจากความแวดล้อม แล้วจะเห็นว่าเป็นฤาษีในลัทธิฮินดู 

        นอกจากนี้บทพากย์ทั้ง 2 ยังขึ้นต้นด้วย "โอม" อันเป็นคำศักดิ์สิทธิ์แทนพระนามของเทพเจ้าทั้ง 3 ในลัทธิคังกล่าว คือคำนี้มาจาก อ + อุ + ม   อ คือ พระวิษณุ อุ คือ พระอิศวร และ ม คือพระพรหม ทั้งในรายละเอียดของบทพากย์ก็ได้เอ่ยอ้างพระนามเทพเจ้า ทั้ง 3 อย่างแจ่มชัด ดังนั้นเดิมทีหนังตะลุงจึงเป็นเรื่องของพราหมณ์อย่างไม่ต้องสงสัยและการที่หนังตะลุงออกพระอิศวรซึ่งไม่ปรากฏขนบนิยมเช่นนี้ในหนังชวา และมาเลเซีย ก็น่าจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงกลุ่มลัทธิที่นำหนังตะลุงเข้ามาว่า น่าจะเป็นพวกที่นับถือฮินดูลัทธิไศวนิกาย คือบูชาพระอิศวรเป็นใหญ่

           ซึ่งลัทธินี้ถ้าดู จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณจังหวัด นครศรีธรรมราช พัทลุง และสุราษฏร์ธานี แล้วน่าจะตกอยู่ประมาณพุทธศตวรรษ ที่ 13 แต่ก็มิได้หมายความว่า หนังตะลุงจะเข้ามาพร้อมกับลัทธินี้อาจจะ เป็น ช่วงหลังก็ได้ แต่คงไม่เลยพุทธศตวรรษที่ 17 เพราะตามตำนานบอกเล่าซึ่ง นายหนังตะลุงรุ่นเก่าถ่ายทอดไว้ เป็นบทไหว้ครูหนัง ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าหนังมีมาแต่ครั้งศรีวิชัย แต่ชั้นแรกรูปแบบการเล่นจะเป็นอย่างไรไม่ทราบได้ 

           เท่าที่ทราบก็เมื่อต้นรัตนโกสินทร์ ดังความเล่าต่อ ๆ กันว่าเดิมหนัง เล่นบนพื้นดินในที่ลานเตียนโล่งแจ้ง ไม่ยกโรงขึงจออย่างทุกวันนี้ เล่นทั้ง กลางวันและกลางคืน หนังที่เล่นกลางคืนจะใช้วิธีสุมไฟหรือใช้ไต้ขนาดใหญ่ เรียกว่า "ไต้หน้าช้าง" สำหรับให้แสงสว่างรูปหนังแกะด้วยหนังวัวหนังควาย ขนาดรูปใหญ่ สูงแค่อกไม่ใช้ไม้ตับคีบตัวหนังสำหรับจับเชิดแต่จะใช้ เชือกร้อย ตรงส่วนหัวของตัวหนังสำหรับจับถือ รูปตัวหนึ่ง เวลาออกเชิดใช้คนถือออก เชิดเต้นคนหนึ่ง การเล่นหนังแบบนี้เรียกว่า "รำหนัง" แม้บางถิ่นปัจจุบันก็ยัง เรียกเช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่หนังเลิกเต้นเชิดกันแล้ว การเล่นหนังลักษณะดังกล่าว ออกจะยุ่งยากไม่น้อยเพราะต้องใช้คนมากตัวหนังก็มาก และหนักจนถึงขนาด เวลาไปเล่นต้องใส่เกวียนชักลาก

          ต่อมาหนังแขกหรือหนังชวาเข้ามาเล่นใน ภาคใต้ หนังแขกนั้นเป็นหนังตัวเล็ก เล่นบนโรง ไม่ลำบากยุ่งยากอย่างที่ เคย เล่นกันมา จึงมีผู้คิดเอาอย่างประยุกต์ประสมประสาน เข้ากับหนังแบบเดิม โดยปลูกโรงยกพื้นสูง ใช้เสา 4 เสา หลังคาแบบเพิงหมาแหงน ใช้ผ้าขาว เป็นจอสำหรับเชิดรูป ผู้ดูก็ดูเพียงเงาของรูปซึ่งเกิดจากไฟส่องด้านหลังและ ฟังคำพากย์ ไม่ต้องดูลีลาท่าทางของผู้เชิด คนเชิดก็ลดเหลือ 2 คน นั่งคน ละซีกจอ เรียกว่า "หัวหยวก - ปลายหยวก" ทำหน้าที่ขับร้องกลอนเชิดรูป พระนางและรูปตัวสำคัญคนหนึ่ง เชิดรูปกาก ตัวตลก พร้อมแสดงมุขตลกอีก คนหนึ่ง ถ้ามากกว่านี้ก็อาจมีคน "ชักรูป" อีกคนหนึ่งแยกออกไปจากนายหนัง ก็ได้ ตามตำนานหนังตะลุงระบุว่าผู้เป็นต้นคิดหนังแบบนี้ก็คือนายนุ้ยหรือหนุ้ย บุคคลผู้นี้บ้างว่าเป็นชาวบ้านควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุงบ้างว่าเป็น ชาวบ้านดอนควน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง หนังที่คิดขึ้นจึงได้ชื่อว่า "หนังควน" ตามถิ่นกำเนิด แต่บางท่านว่าที่เรียกหนังควน เพราะสถานที่เล่น ต้องเลือกที่เนิน ซึ่งภาคใต้เรียกว่า"ควน" 

           อย่างไรก็ตามชื่อนี้ใช้เรียกหนัง ในภาคใต้มาก่อนจะมีคำว่า "หนังตะลุง" ใช้หนังจากภาคใต้ได้เข้าไปเล่นในกรุงเทพฯ ครั้งแรกสมัยพระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยาพัทลุง (เผือก) นำไปเล่นแถวนางเลิ้ง หนังที่เข้าไปครั้งนั้นไปจากจังหวัดพัทลุง คนกรุงเทพฯ จึงเรียก "หนังพัทลุง" แล้วเสียงเพี้ยนเป็น "หนังตะลุง" ในภายหลัง คณะหนังที่เข้าไปเล่นครั้งนั้น เข้าใจว่าจะเป็น "หนังทองเกื้อ" เป็นหนังคณะที่ 3 สืบจากหนังนุ้ย เมื่อ หนังทองเกื้อซึ่งเป็นหนังคณะที่ 3 มีชื่อเสียงอยู่สมัยรัชกาลที่ 3 หนังหนุ้ยผู้เป็นต้นคิดก็คงมีชีวิตไม่ไกลขึ้นไปเท่าใดนักคงไม่เกินสมัยรัตนโกสินทร์ขึ้นไป อย่างแน่นอน ทั้งนี้นอกจากจะอนุมานจากหลักฐานที่กล่าวแล้วยังพบว่า วรรณกรรมก่อนหน้าสมัยรัชกาลที่ 3 ทั้งวรรณกรรมภาคกลางและวรรณกรรม ภาคใต้มิได้ออกชื่อ "หนังตะลุง" หรือ "หนังควน" ไว้เลย 

               ในขณะที่กล่าวถึง การละเล่นชนิดอื่นเอาไว้แม้จะ เป็นการละเล่นปลีกย่อยก็ตาม อนึ่งจากหลักฐาน รูปหนังตะลุงเก่าแก่ที่หลง เหลืออยู่ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช อายุราว 150 กว่าปี ฉะนั้นรูปหนังรุ่นเก่าชิ้นไป ก็คงมีอายุไม่เกิน 200 ปี เป็นแน่ ครั้นพิจารณาลักษณะรูปหนังพบว่ายังมีขนาดโต อยู่มาก ลักษณะหน้าตาคล้ายไปทางหนังใหญ่ รูปตัวสำคัญเช่น พระ นาง ยักษ์ ยังแกะให้เหยียบนาคอย่างหนังใหญ่ทุกตัว แสดงว่าในช่วงดังกล่าวรูปหนังตะลุง ยังพัฒนาไม่ไกลไปจากหนังใหญ่มากนัก ยิ่งเมื่อนำบทพากย์พระอิศวรของหนังตะลุงบางสำนวนไปเปรียบเทียบกับบทไหว้ครูโบราณของหนังใหญ่แล้วจะ พบว่า มีบางตอนซ้ำกันและบางตอนยังทิ้งเค้ารอยว่าเป็นบทไหว้ครูหนังใหญ่ มาก่อน อย่างเห็นได้ชัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น