วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พิธีกรรมโนราโรงครู


พิธีกรรมโนราโรงครู
                  “โนราโรงครูเป็นพิธีกรรมการเชิญวิญญาณบรรพบุรุษที่เป็นโนรา  ซึ่งเรียกว่า ตาหลวงหรือ ตายายโนรามายังโรงโนราเพื่อรับการแสดงความเคารพอันเป็นการแสดงมุทิตาจิตของลูกหลานที่มีต่อบรรพบุรุษ หรือ เพื่อประกอบการพิธีแก้เหมรย (แก้บน) พิธีการครอบเทริด พิธีตัดจุก พิธีผูกผ้าใหญ่ ผู้ทำหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมคือ นายโรงโนราหรือ โนราใหญ่และในพิธีกรรมดังกล่าวก็จะเชิญวิญญาณบรรพบุรุษมาเข้าทรงด้วยลูกหลานโนรา มีความเชื่อและความศรัทธาเกี่ยวกับครูหมอโนรามาก ครูหมอโนราหมายถึง ครูต้น คือ ตายายโนราหรือ ตาหลวงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครูต้น ได้แก่ แม่ศรีมาลา  พ่อเทพสิงขร พระยาสายฟ้าฟาด ตาพรานบุญ ตาหลวงคง ตาพรานอินทร์ นางแขนอ่อน นางเภา   ตลอดจนบรรพบุรุษโนราของตนเองที่ล่วงลับ ไปแล้วว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีฤทธิ์ทั้งให้คุณและให้โทษแก่ลูกหลาน และมีความผูกพันกับลูกหลานที่มีเชื้อสายโนรา  ครูหมอโนรามีหน้าที่ดูแลลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข คอยปกปักรักษาให้มีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัยมีความมั่งมีศรีสุข ดังนั้นลูกหลานเองจะต้องตอบแทนบุญคุณโดยการถวายเครื่องเซ่นไหว้และเชิญครูหมอโนรามาเข้าทรงในพิธีโนราโรงครูปีละหนึ่งครั้ง หรือ ๓ ปีครั้ง หรือแล้วแต่ความเหมาะสมเนื่องจากการประกอบพิธีกรรม

โนราโรงครูต้องใช้งบประมาณในการจัดงานค่อนข้างสูง หากลูกหลานเพิกเฉยหรือลบหลู่ไม่นับถือ หรือบนบานศาลกล่าวอะไรไว้เมื่อได้สมดังความปรารถนาแล้วไม่แก้บนหรือ แก้เหมยรก็จะทำให้เกิดอาการป่วยกระเสาะกระแสะ ไม่ยอมรับประทานอาหาร พูดจาไม่รู้เรื่อง เรียกอาการดังกล่าวว่าเป็นการถูก ครูหมอย่างหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เสียชีวิตได้


ประเภทของโนราโรงครู
โนราโรงครูแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
                  . โนราโรงครูใหญ่ หมายถึงโนราโรงครูเต็มรูปแบบ ปกติการทำพิธีโนราโรงครูใหญ่ทำกัน ๓วัน ๒ คืน
เริ่มตั้งแต่วันพุธ ไปสิ้นสุดในวันศุกร์ และต้องทำกันเป็นประจำ เช่น ทุกปี ทุกสามปี หรือทุกห้าปี แล้วแต่จะกำหนด
                  . โนราโรงครูเล็ก หมายถึง การรำโนราโรงครูแบบย่อ ใช้เวลารำ เพียง ๑ คืนกับ ๑ วันเท่านั้นปกติจะเข้าโรงครูในตอนเย็นของวันพุธไปสิ้นสุดในวันพฤหัสบดี


คณะโนราโรงครู
                  โนราโรงครูคณะหนึ่งประกอบด้วย โนราใหญ่ ซึ่งเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ บางแห่งเรียกโนราใหญ่ว่า ครูหมอโนราคณะโนรา มีศิลปินประมาณ ๑๕๒๐ คน หรือแล้วแต่กรณีที่มีการตกลงกันและคนทรง


ผู้ประกอบพิธีกรรม โนราโรงครู
                  ต้องเป็นโนราใหญ่ที่ผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ เช่นพิธีครอบเทริด พิธีผูกผ้าใหญ่ และต้องผ่านการศึกษาวิชาด้านคาถาอาคมเวทมนตร์ต่างๆ มาอย่างครบถ้วน อีกทั้งยังเป็นที่ยอมรับในหมู่ศิลปินโนราและชาวบ้านทั่วไปด้วย


เครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีกรรมโนราครู ประกอบด้วย
. โหม่ง ๑ คู่
. ฉิ่ง ๑ คู่
. ทับ ๑ คู่
. กลอง ๑ ใบ
. ปี่นอก ๑ เลา  . แตระ ไม้แตระพวง หรือ ไม้แตระ


บทประกอบท่ารำและบทร้อง
                  การรำและร้องกลอนประกอบพิธีกรรมซึ่งหมายถึงท่ารำและบทร้องกลอนของโนราที่ใช้ เช่น บทครูสอน บทสอนรำบทประถม บทพลายงามตามโขลง บทสิบสอง จะมีลักษณะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ตามที่ศึกษามาจากครูต้นในแต่ละสายตระกูล


โรงพิธีหรือโรงครู
                  สร้างโรงพิธีเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง ๙ ศอก ยาว ๑๑ ศอก มีเสา ๘ ต้น ไม่ยกพื้น โดยแบ่ง ออกเป็น ๓ ตอน เสาตอนหน้าและหลังมีตอนละ ๓ เสา ส่วนตอนกลางมี ๒ เสา ไม่มีเสากลาง หน้าโรงหันไปทางทิศเหนือหรือใต้ เรียกว่า ลอยหวัน” (ลอยตะวัน) ไม่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก เพราะเป็นการ ขวางหวัน” (ขวางตะวัน) ตามความเชื่อของโนราว่าเป็นอัปมงคล หลังคาทำเป็นรูปหน้าจั่ว มุงด้วยจาก ตรงกลางจั่วครอบด้วยกระแชง ถ้าไม่มีกระแชงก็ใช้ใบเตยมาแทนได้ ด้านหลังของโรงพิธีทำเป็นเพิงพักของคณะโนรา ด้านขวาหรือด้านซ้ายของโรงคาดเป็นร้านสูงระดับสายตา จากเสาโรงออกไปรับกับไม้ชายคาที่ยื่นลงมาเพื่อเป็นที่วางเครื่องบูชา เรียกว่า ศาลหรือ พาไลพื้นโรงปูด้วย สาดคล้า” (เสื่อสานด้วยคล้า) แล้วปูทับด้วยเสื่อกระจูด วางหมอนปูผ้าขาวทับ เรียกว่า สาดหมอนบนหมอนวางไม้แตระและไม้กระดาน หรือเชิงเทียนติดเทียนเรียกว่า เทียนครูหรือ เทียนกาศครูโรงพิธีอาจตกแต่งด้วยผ้า กระดาษสี ธงราย และสิ่งของอื่นๆ อีกก็ได้
อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม
                  อุปกรณ์ที่สำคัญได้แก่ ผ้าเพดานบนศาลหรือพาไล ผ้าเพดานใหญ่ในโรงพิธี ที่วางเทริด เสื่อ หมอนเครื่องเชี่ยนพิธี หม้อน้ำมนตร์ ไม้หวาย มีดหมอ บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่หรือบายศรีท้องโรง ดอกไม้ ธูปเทียนหอกแทงจระเข้ หยวกกล้วยทำรูปจระเข้ ใบชิงหรือกระแชง ขันลงหิน หน้าพรานชาย-หญิง เทริด ย่าม ธนู เชือกคล้องหงส์ เครื่องแต่งตัวโนรา   หญ้าคาหรือหญ้า ครุน ใบเฉียงพร้า   ใบหมาก-ตัวผู้ เงินเหรียญ รวงข้าว
มีดโกน หินลับมีด พระขรรค์ หนังเสือ หนังหมี (สำหรับที่วางหม้อน้ำมนตร์ อาจจะทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นตะกร้าทรงสูงเรียกว่า ตรอม


เครื่องบูชาประกอบพิธีกรรม
                  เครื่องบูชาจะจัดเตรียมเป็น ๒ ชุด คือ เครื่องบูชาครูบนศาลหรือพาไล และเครื่องบูชาที่ท้องโรง(ที่พื้นกลางโรง)
เครื่องบูชาครูบนศาลหรือพาไล ประกอบด้วย
. หมาก-พลู
. ดอกบานไม่รู้โรย
. เครื่องเชี่ยน
(มียาเส้น หมาก-พลู ปูน)
. เทียนไข
. หมอนหนุน
. เสื่อกระจูด
. ผ้าขาว
. ผ้านุ่งห่มผู้ชาย
. กล้วย
๑๐. อ้อย
๑๑. มะพร้าวอ่อน
๑๒. ขนมพอง
๑๓. ขนมลา  ๑๔. ขนมบ้า  ๑๕. ขนมดีซำ
๑๖. ขนมไข่ปลา    ๑๗. ขนมถั่ว
๑๘. ขนมงา   ๑๙. ขนมโค
๒๐. ขนมต้ม
๒๑. ขนมขาว
๒๒. ขนมแดง
๒๓. เหล้าขาว
๒๔. เป็ดสุก
๒๕. ไก่สุก
๒๖. หัวหมูสุก
(มีส่วนหัว หาง และขา)
๒๗. ที่สิบสอง
(อาหารคาวหวาน ๑๒ อย่าง)
๒๘. ผลไม้
๒๙. เงิน ๙ บาท
๓๐. กระสอบราด
๓๑. ข้าวสาร
๓๒. ด้ายดิบ
๓๓. หม้อน้ำมนต์
๓๔. หน้าพรานชาย-หญิง
๓๕. บายศรี
๓๖. เทริด
๓๗. เทียนชัย (เทียนขนาดใหญ่)
เครื่องบูชาที่ท้องโรง (ที่พื้นกลางโรง)
เครื่องบูชาที่ท้องโรงประกอบด้วย
. บายศรีใบตองต้นใหญ่
. ดอกไม้สด
. ก้านพลับแพรว
. เสื่อกระจูด
. สาดคล้า    . หมอนหนุน
. ผ้าขาว
. เทียนห่อใหญ่
. ดอกไม้
๑๐. หมาก-พลู
๑๑. เล็บโนรา  ๑๒. กำไลโนรา


ระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรม

                  นิยมประกอบพิธีในฤดูแล้ง ระหว่างเดือน ๕ ถึง เดือน ๙ (แต่จะไม่จัดในเดือน ๔) โดยไม่จำกัดวันขึ้นวันแรม แต่ส่วนมากเจ้าภาพนิยมประกอบพิธีวันข้างขึ้นเพราะถือเป็นมงคล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น