พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ศตวรรษแห่งการก่อกำเนิดโนรา
โดยคุณบุปผาชาติ อุปถัมภ์นรากร
โดยคุณบุปผาชาติ อุปถัมภ์นรากร
โนราเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ที่มีความสำคัญต่อสังคมภาคใต้
ชาวภาคใต้ถือว่าเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านเก่าแก่ที่กระทำติดต่อสืบเนื่องกันมาแต่สมัยโบราณ
ได้รับความนิยมจากชาวภาคใต้อย่างกว้างขวางเกือบทุกท้องถิ่นมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
(ภาพโนราโรงครูจากวิทยานิพนธ์โนรากับการเปลี่ยนแปลง)
เช่นเดียวกับ สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ (2542 ข : 3897) ซึ่งมีความเห็นสอดคล้องว่า โนรา เป็นการละเล่นพื้นเมืองภาคใต้ที่มีมาแต่โบราณประมาณอายุตามที่
หลาย ๆ ท่านสันนิษฐานไว้ตั้งแต่สมัยศรีวิชัยหรือไม่ก็ราวพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นอย่างน้อย
ปรีชา นุ่นสุข (2537 : 2) ได้กล่าวว่า โนราเป็นมหรสพหรือศิลปะการรำฟ้อนอย่างหนึ่งของชาวภาคใต้
ชาวภาคใต้ถือว่าเป็นศิลปะและวัฒนธรรมเก่าแก่ที่มีการสืบทอดต่อเนื่องกันมาแต่โบราณ โนราได้รับความนิยมจากชาวภาคใต้อย่างกว้างขวาง
เกือบทุกท้องถิ่นมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ โนรา ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในจังหวัดต่าง
ๆ ในภาคใต้ตอนบน และภาคใต้ตอนกลาง คือ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง
ระนองพัทลุง กระบี่ พังงา และสงขลา ในหลาย ๆ จังหวัดที่กล่าวถึงนี้ จังหวัดพัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช
ได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่น่าจะเป็นถิ่นกำเนิดโนราในภาคใต้ เพราะทั้งสองจังหวัดมีตำนานและประวัติความเป็นมาเกี่ยวข้องถึงกันอยู่ไม่น้อย
และช่วงที่ผ่านมาประมาณ 40-50 ปี สองจังหวัดดังกล่าวมีคณะโนราที่มีชื่อเสียงอยู่มากมาย
จนถึงกับบางท่านกล่าวว่าจังหวัดพัทลุงและนครศรีธรรมราชเป็นเมืองโนราโดยแท้
การแสดงโนราในระยะเริ่มแรกเป็นเพียงการรำมากกว่าการเล่นเป็นเรื่องแบบละครอย่างเดียว
ซึ่งอยู่ในสมัยอยุธยาตอนกลาง ดังปรากฏในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ที่ได้พูดถึงละครที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการแสดงโนรามาก
หลักฐานที่ชี้ชัดว่ามีโนราเข้าไปแสดงในภาคกลาง คือในช่วงรัชกาลที่ 1 (สุจิตต์ วงษ์เทศ. 2532
: 159-174) ได้กล่าวถึง คำว่า “ชาตรี” มีหลักฐานเก่าสุดอยู่ในโคลงกรมหมื่นศรีสุเรนทร์ ซึ่งแต่งเรื่องพระบรมศพพระปฐมมหาชนกว่า
“ชาตรีตลุบตุบทิ้งกลองโทน รำสะบัดสะเอวโอน อ่อนแปล้ คนกรับรับขยับโยน
เสียงเยิ่น ร้องเรื่องรถเสนแก้ ห่อขย้มยาโรย” การแสดงโนราในสมัยแรกเป็นทั้งเพื่อความบันเทิงและพิธีกรรมโดยใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน
และแสดงในแนวเดียวกันทุกคณะ คือ เริ่มต้นด้วยการเบิกโรง โหมโรงกาศครู ต่อด้วยเพลงกราวและเพลงทับ
จบทำบทนี้แล้วก็จะอวดลีลาการรำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้รำและระยะเวลาที่มีการรำจะคละท่ารำต่าง
ๆ เรียกว่า “รำประสมท่า” โนราคนแรกว่าจบ
โนราคนต่อไปซึ่งแต่งตัวรออยู่แล้วจะเป็นคนรำต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงโนราใหญ่โนราใหญ่จะเป็นผู้ที่ใช้เวลาว่าบทนานที่สุด
โนราจะทำบทเป็นการอวดลีลาการร้องและรำไปพร้อม ๆ กัน จากนั้นโนราจะแสดงความสามารถในการรำ
เช่น รำท่าประสม รำตัวอ่อน จากนั้นจะเล่นกำพรัด คือ ร้องโต้ตอบกันต่อด้วยการ “จับบทออกพราน” คือการแสดงเป็นเรื่องโดยจะตัดตอนจากนิยายมาแสดงประกอบด้วย
โนราใหญ่และพราน มีโนราคนอื่นแสดงประกอบอีกประมาณ 1-2 คน บทที่นิยมแสดงมี
3 บทหลัก คือ บทราหูจับจันทร์ บทรามสูร– เมขลา
และบทนารีผล ต่อจากนั้นจะแสดงร้องจักร ๆ วงศ์ ๆ หรือนิยายพื้นบ้านบางเรื่อง เช่น พระสุธน-มโนห์รา
ขุนช้างขุนแผน พระรถเสน จันทโครพ ไกรทอง เป็นต้น จบจากการแสดง แล้วโนราก็
เลิกโรงโดยการกล่าวบทลาโรงต่อมาประมาณ
พ.ศ. 2476 มีการเปลี่ยนแปลง คือ มีโนราผู้หญิงเข้าร่วมแสดงและได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย
ๆ เช่น โนราหนูวิน โนราหนูวาด จนมีชื่อเสียงโด่งดังจนเป็นที่รู้จักกันทั่วภาคใต้
ซึ่งจากนั้นก็มีโนราผู้หญิงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การแสดงโนราเพื่อความบันเทิงมีการเลื่อนไหลไปตามยุคตามสมัยเพื่อให้ทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม และความนิยมของคนดู พ.ศ.2514 ได้เกิดกระแสอนุรักษ์แบบเดิมขึ้นในสถาบันการศึกษาขุนอุปถัมภ์นรากร
(โนราพุ่มเทวา)เป็นผู้สอนในครั้งนั้นได้มีการปรับกระบวนรำใหม่
เพราะต้องสอนนักศึกษาเป็นกลุ่ม ผู้รำไม่ต้องร้อง ผู้ร้องไม่ต้องรำ รำคราวละหลาย ๆ คนทำให้เกิดการแสดงโนราพื้นบ้านภาคใต้อีกแนวหนึ่งคือ
การรำเป็น ชุด ๆ และมักนิยมอยู่ใสถาบันการศึกษา อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการปรับเปลี่ยนการแสดงโนรา
มีระดับการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันออกไป มีบางส่วนที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงบ้างและบางส่วนยังอยากที่จะดำรงความดั้งเดิมให้มากที่สุด
ทั้งนี้เพื่อให้ตัวโนรายังคงอยู่และเข้ากับสังคมสมัยใหม่ได้นั่นเอง จากสถานการณ์เช่นนี้แสดงให้เห็นว่าโนราไม่อาจที่จะคงลักษณะเดิมอยู่ตลอดไปได้
มีการผสมผสานปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม ตามความจำเป็นในการดำรงชีวิตเสมอ
ซึ่งสินชัย กระบวนแสง และณรงค์ เขียนทองสกุล (2541 : 192) กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมพื้นบ้านว่าเมื่อศึกษา
รู้จัก เข้าใจและเห็นคุณค่าวัฒนธรรมพื้นบ้านแล้ว ในที่สุดก็ต้องตระหนักด้วยว่าวัฒนธรรมพื้นบ้านอาจดำรงอยู่ได้
แต่ไม่อาจคงลักษณะเดิมยั่งยืนอยู่ตลอดไป วัฒนธรรมพื้นบ้านย่อมมีการเปลี่ยนแปลงและการประสมประสาน
มีการปรับเปลี่ยนแปรไปตามสภาพของสังคม ตามความจำเป็นในการดำรงชีวิตหรือตามอิทธิพลของการถ่ายเทวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มที่สัมพันธ์กันความพยายามฟื้นฟูอนุรักษ์รูปแบบวัฒนธรรมพื้นบ้านโดยไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงย่อมเป็นการฝืนธรรมชาติไม่ประสบผลสำเร็จเพราะเรื่องของวัฒนธรรมเป็นเรื่องของวิถีชีวิต
แบบอย่างที่ใช้ชีวิตได้จริงเท่านั้นถึงจะคงอยู่
ต่อมาคุณสุรกิจบรรหาร และภิญโญ จิตต์ธรรม (2508 : 19-31)ท่านทั้งสองได้นำเอาตำนานบางส่วนที่กล่าวมาตอนต้นมาพิจารณาแล้วสรุปว่า
โนราเกิดขึ้น พ.ศ.1858–2051 ที่เมืองพัทลุงเก่า
คือ บางแก้วในปัจจุบันเจ้าเมืองพัทลุงครั้งนั้นคือ พระยาสายฟ้าฟาดหรือท้าวโกสินทร์มเหสีชื่อศรีมาลาหรืออินทรกรณีย์
ทั้งสองมีโอรสชื่อเทพสิงหรและธิดาชื่อนวลทองสำลีหรือศรีคงคา พระยาสายฟ้าฟาด ได้หาราชครูให้สอนวิชาการร่ายรำให้แก่โอรสธิดาผลปรากฏว่านางนวลทองสำลีรำได้
12 ท่าอย่างคล่องแคล่ว แต่ก็มีเรื่องน่าละอายเกิดขึ้น คือ นางเกิดตั้งครรภ์โดยได้เสียกับพระเทพสิงหรผู้เป็นพี่
ส่วนราชครูก็ได้เสียกับสนมกำนัล พระยาสายฟ้าฟาด จึงสั่งให้เอาราชครู 4 คน มีนายคงผมหมอ นายชม นายจิตร และนายทองกันดาร ผูกคอถ่วงน้ำในย่านทะเลสาบสงขลา
ส่วนโอรสธิดา และสนมกำนัลถูกลอยแพ แต่โชคดีแพไปติดที่บ้านกะชังบนเกาะใหญ่ อำเภอกระเสสินธุ์
จังหวัดสงขลา ปัจจุบันจึงรอดชีวิตแล้วนางนวลทองสำลีก็คลอดบุตร ชื่อทองอู่ สนมที่ได้เสียกับนายคงผมหมอ
ก็คลอดบุตรชื่อจันทร์กระยาผมหมอ เมื่อบุตรนางนวลทองสำลีโตขึ้นได้ฝึกร่ายรำจนมีโอกาสได้ไปเมืองพัทลุง
ได้พบกับพระยาสายฟ้าฟาด ๆก็ยกโทษให้โอรสธิดาและได้รับกลับเมือง และสนับสนุนให้เล่นโนราต่อไปทั้งแต่งตั้งทองอู่หลานชายให้เป็นขุนศรีศรัทธา
ไม่จริง นางนวลทองสำลีไม่ได้ตังครรภ์กบพี่ชาย แตพระได้เสวยเกสรบัวแล้วตังครรภ์ แต่ถ้ามีการอ้างอิงหลักฐานว่าเป็นจริง ก็มิควรที่จะนำเสนอเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตรให้ศึกษาแก่อนุชนให้เกิดความกระอักกระอ่วนใจ เป็นการสร้างความความบัดสีและจุดด่างพร้อยในความเชื่อและศรัทธา นักประวัติศาสตร์ควรจะบิดเบือนข้อมูลทางประวัติศาสตร์เพื่อดำรงไว้ชซึ่งความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมทางนาฎกรรมที่เก่าแก่และย่งใหญ่ในอุษาอาคเนย์ ขอบคุณครับ พัชรพงศ้ เกื้ิอสุข airy2556@gmail.com
ตอบลบไม่เห็นด้วยกับ patcarapong beau suk
ตอบลบเพราะตำนานที่ว่ามานั้น ดูออกจะ เฟือนๆ เพ้อๆ อยู่
น่าจะเป็นตำนานที่แต่งขึ้นมา
เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องประวัติศาสตร์