วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

โนราแขก ศิลปะพื้นบ้านภาคใต้




โนราแขก


อุปกรณ์และวิธีการเล่น
                 1. ดนตรี มีดังนี้คือ กลอง 2 ใบ ทับ 1 คู่ ทน (กลองแขก) 2 ใบ ฆ้อง 1 คู่ นอกจากนี้มีโหม่ง ปี่ชวา ซอ รือบะ แสะ (แตระ) และฉิ่ง
                 2. เครื่องแต่งตัว คล้ายกับโนราทั่วไป แต่การนุ่งผ้าจะไว้หางหงส์ยาวกว่า เครื่องประดับร่างกายประกอบด้วยลูกปัด ปิดไหล่ สายสังวาล ทับทรวง ปีกนก ปิเหน่ง (ปิ้นเหน่ง) ปีก (หางหงส์) ผ้าห้อย กำไลต้นแขน กำไลปลายแขน เล็บ ผ้าผูกคอ และเทริด (เทริดนิยมห้อยอุบะด้วย)
                 3. ธรรมเนียมนิยมในการแสดง โนราแขกจะมีลักษณะประสมประสานระหว่างโนรากับมะโย่ง ดนตรีที่ใช้ ใช้ดนตรีโนราและดนตรีมะโย่งผสมกัน การขับบทก็คล้ายกับการร้องของมะโย่ง โดยเฉพาะบทขับต่าง ๆ ที่ขับโต้ตอบระหว่างพ่อโนรากับนางโนรานั้นเรียกว่าเพลง เช่น เพลาร่ายแตระ เพลาเดิน เพลาฉันทับหรือเพลาทน เพลาฆ้อง เพลาฉิ่ง เป็นต้น แต่ก่อนที่จะขับบทร้องแสดงเรื่องนั้น จะมีการว่าบทกาศครูเช่นเดียวกับโนราทั่วไป การแสดงเรื่องสมัยก่อนนิยมแสดงเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ เรื่องจากวรรณคดี ต่อมาแสดงอย่างละครสมัยใหม่ แต่ถ้าเล่น…..จะต้องเล่นร้องพระสุธนมโนราห์ ลำดับการแสดงของโนราแรก เริ่มด้วยดนตรีโหมโรงพ่อโนราว่าบทกาศครู จากนั้นก็เริ่มแต่งตัว ขณะแต่งตัวเมื่อนุ่งผ้าใส่ปีกเสร็จแล้วจะนั่งว่าบท เป็นบทร่าาแตระไปพร้อมกับใส่เครื่องประดับอื่น ๆ เช่น กำไลต้นแขน ปลายแขน เล็บและเทริด เป็นต้น เมื่อแต่งตัวเสร็จพ่อโนราจะลุกขึ้นรำโดยมีนางโนรา 1 คู่ รำตามหลัง การรำนี้จะไม่รำเป็นท่าแบบโนราทั่วไป แต่จะรำเป็นเพลงมีการรำเคล้ารำบทกับนางรำ สลับการรำบท มีการ "ทำบท" แบบโนราทั่วไป เช่น บทผัดหน้า บทสีไต เป็นต้น โดยมีนางโนราทั้ง 2 คน ร้องรับและโต้ตอบ ลักษณะของบทหรือเพลงที่ร้อง เมื่อพ่อโนรานั่งว่าบท นางโนราทั้งสองจะนั่งหมอบอยู่ด้านหน้า ถ้าพ่อโนราเรียกจะขานรับ เช่น ขานว่า "ยอละแบะเร" เป็นต้น การร้องโต้ตอบกันนั้น ถ้าเป็นโนราที่เป็นคนไทยล้วนจะร้องโต้ตอบกันเป็นภาษาไทยบ้าง มลายูบ้าง เมื่อร้องทำบทหรือเพลงเสร็จจะเป็นการแสดงเรื่องต่อไปเรื่องที่แสดงเป็นเรื่องจากวรรณคดีไทยประเภทจักร ๆ วงศ์ ๆ เช่น วรวงศ์ พระสุธนมโนราห์ ไกรทอง สังข์ทอง เป็นต้น โนราแขกเดิมผู้เล่นเป็นชายล้วนแสดงเป็น "พ่อโนรา" (โนราใหญ่) และนางโนรา ต่อมาภายหลังพ่อโนราเป็นชายและนางโนราเป็นหญิง





โอกาสหรือเวลาที่เล่น
โนราแขกแสดงได้ทุกงาน ทั้งงานบุญกุศลงานประชัน และงานแก้บน (แก้เหมรย) เช่น งานแต่งงาน งานบวชนาค งานเข้าสุนัต แต่เมื่อมีการพัฒนาการเล่นแบบโบราณมาเล่นดนตรี และแสดงเรื่องอย่างละครสมัยใหม่ ทำให้ธรรมเนียมการแสดงเปลี่ยนไปหมด คือเริ่มการเล่นดนตรีแบบสากลร้องเพลงมลายูและเพลงอินเดีย ต่อด้วยการแสดงแบบละครสมัยใหม่ ปัจจุบันถ้าจะดูโนราแขกจริง ๆ ก็จะดูได้ในโอกาสงานแก้บนและงานไหว้ครูโนราเท่านั้น

สาระ
โนราแขกเป็นการละเล่นพื้นบ้านของจังหวัดนราธิวาส โนราแขกจะมีลักษะประสานระหว่างโนรากับมะโย่ง ดนตรีที่ใช้ ใช้ดนตรีโนราและดนตรีมะโย่งผสมกัน เป็นการแสดงที่ให้ความสนุกสนาน เรื่องที่จะแสดงเป็นเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ เรื่องจากวรรณคดี โนราแขกจะแสดงได้ทุกงาน ทั้งงานบุญงานกุศล งานประชันและงานแก้บน (แก้เหมรย)







ขอขอบคุณที่มา : http://kanchanapisek.or.th/oncc-cgi/text.cgi?no=9800

กลอนตำนานมโนรา ขุนอุปถัมภ์นรากร (พุ่ม เทวา)


กลอนตำนานมโนราขุนอุปถัมภ์นรากร (พุ่ม เทวา)

นางนวลทองสำลี เป็นบุตรีท้าวพระยา 
นรลักษณ์งามนักหนา จะแจ่มดังอัปสร 
เทวาเข้าไปดลจิต ให้เนรมิตเทพสิงหร 
รูปร่างอย่างขี้หมอน ( กินนร ) ร่อนรำง่าท่าต่างกัน 
แม่ลายฟันเฟือน ตระหนกล้วนแต่เคลือวัลย์ 
บทบาทกล่าวพาดพัน ยอมจำแท้แน่หนักหนา 
จำได้สิบสองบท ตามกำหนดในวิญญาณ์ 
เมื่อฟื้นตื่นขึ้นมา แจ้งความเล่าเหล่ากำนัล 
แจ้งตามเนื้อความฝัน หน้าที่นั่งของท้าวไท 
วันเมื่อจะเกิดเหตุ ให้อาเพทกำม์จักไกล 
ให้อยากดอกมาลัย อุบลชาติผลพฤกษา 
เทพบุตรจุติจากสวรรค์ เข้าทรงครรภ์นางฉายา 
รู้ถึงพระบิดา โกรธโกรธาเป็นฟืนไฟ 
ลูกชั่วร้ายทำขายหน้า ใส่แพมาแม่น้ำไหล 
พร้อมสิ้นกำนัลใน ลอยแพไปในธารัล 
พระพายก็พัดกล้า เลก็บ้าพ้นกำลัง 
พัดเข้าเกาะกะชัง นั่งเงื่องงงอยู่ในป่า 
ร้อนเร้าไปถึงท้าว โกสีย์เจ้าท่านลงมา 
ชุบเป็นบรรณศาลา นางพระยาอยู่อาศัย 
พร้อมสิ้นทั้งฟูกหมอน แท่นที่นอนนางทรามวัย 
ด้วยบุญพระหน่อไท อยู่เป็นสุขเปรมปรีดิ์ 
เมื่อครรภาถ้วนทศมาส ประสูติราชจากนาภี 
อีกองค์เอี่ยมเทียมผู้ชาย เล่นรำได้ด้วยมารดา 
เล่นรำตามภาษา ตามวิชาแม่สอนให้ 
เล่นรำพอจำได้ เจ้าเข้าไปเมืองอัยกา 
เล่นรำตามภาษา ท้าวพระยามาหลงไหล 
จีนจามพราห์มข้าหลวง ไททั้งปวงอ่อนน้ำใจ 
จีนจามพราห์มเทศไท ย่อมหลงไหลในวิญญาณ์ 
ท้าวพระยาสายฟ้าฟาด เห็นประหลาดใจนักหนา 
ดูนรลักษณ์และพักตรา เหมือนลูกยานวลทองสำลี 
แล้วหามาถามไถ่ เจ้าเล่าความไปถ้วนถี่ 
รู้ว่าบุตรแม่ทองสำลี พาตัวไปในพระราชวัง 
แล้วให้รำสนองบาท ไทธิราชสมจิตหวัง 
สมพระทัยหัตถยัง ท้าวยลเนตรเห็นความดี 
และประทานซึ่งเครื่องทรง สำหรับองค์พระภูมี 
กำไลใส่กรศรี สร้อยทับทรวงแพรภูษา 
แล้วประทานซึ่งเครื่องทรง คล้ายขององค์พระราชา 
แล้วจดคำจำนรรจา ให้ชื่อว่า "ขุนศรีศรัทธา "


เผยแผ่โดย..หยาดกวี..
๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔

โนรามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคใต้ Nora Intangible Cultural Heritage







ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล http://www.culture.go.th
ผู้สืบค้นข้อมูล  โนราบรรดาศักดิ์ พิทักษ์ศิลป์  วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๖

มหกรรมโนราโรงครู ณ โถงหอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย



“โนรา” เป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองภาคใต้ที่ประจักษ์ชัดและเป็นที่ยอมรับว่าเป็น “อัจฉริยะ” แห่งศิลปะการแสดงและการละเล่นพื้นบ้าน เป็นมรดกวัฒนธรรมที่ส่งต่อ สืบทอดและพัฒนามาอย่างยาวนาน เป็นภูมิปัญญาล้ำค่าที่แทรกซ้อนอยู่ในจิตวิญญาณของคนใต้อย่างกว้างขวาง

“โนราโรงครู” เป็นพิธีกรรมการเชิญวิญญาณบรรพบุรุษที่เป็นโนรา ซึ่งเรียกว่า “ตาหลวง” หรือ “ตายายโนรา” มายังโรงโนราเพื่อรับการแสดงความเคารพอันเป็นการแสดงมุทิตาจิตของลูกหลานที่มีต่อบรรพบุรุษ








 ขอขอบคุณที่มาของเนื้อหา   http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?p=70866065
ขอขอบคุณที่มาของรูปภาพประกอบ  คลิ๊กเพื่อดูรูปเพิ่มเติม

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

โนราบรรดาศักดิ์ พิทักษ์ศิลป์





รำโนราเพลงโค




              โนราเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ที่มีทั้งการรำ การร้อง และการ ทำบท ดังกล่าวแล้ว ยังต้องฝึกการรำเฉพาะ อย่าง ให้เกิดความชำนาญเป็นพิเศษด้วย ซึ่งการรำ เฉพาะอย่างนี้ อาจใช้แสดงเฉพาะโอกาส เช่น รำในพิธีไหว้ครู บาง อย่างใช้รำเฉพาะเมื่อมีการประชันโรง บางอย่าง ใช้ไนโอกาสรำลงครู หรือโรงครู หรือ รำแก้บน เป็นต้น การรำเฉพาะอย่าง มีดังนี้

๑. รำบทครูสอน
๒. รำบทปฐม
๓. รำเพลงทับเพลง โทน
๔. รำเพลงปี่
๕. รำเพลงโค
๖. รำขอเทริด
๗. รำ เฆี่ยนพรายและเหยียบลูกนาว (เหยียบมะนาว)
๘. รำ แทงเข้ (แทงจระเข้)
๙. รำคล้องหงส์
๑๐. รำบท สิบสองหรือรำสิบสองบท


วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

โนราพัน หอเพชร

โนราพัน  หอเพชร 

ขอบคุณที่มาของรูป  นายธรรมนิตย์  นิคมรัตน์

โนราคล้าย พรหมเมศ หรือโนราคล้ายขี้หนอน


เว็บไซต์โนราคล้าย http://norakray.blogspot.com/


โนราอ่วม พรหมเมศ เกาะสมุย



ขอขอบคุณที่มาของรูปที่ ๑ Anupong Thongrueang
ขอขอบคุณที่มาของรูปที่ ๒ ศรุต รักดี ที่นี่รักคุณเท่าฟ้า


วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

"ด้วยจิตรคารวะ" โนราเติม เมืองตรัง



เห็นรูปลักษณ์อมตะช่างสะสวย

ประกอบด้วยเอกลักษณ์สมศักดิ์ศรี


สถิตย์แท่นบูชาเทริดศักดิ์สิทธิ์นิมิตรดี


ปูชณีย์บรมย์ครูของโนราน่าภูมิใจ


ชื่อมโนราพ่อเติม วิน วาด ประกาศก้อง


ขอยกย่องเทิอดสดุดีที่ยิ่งใหญ่ 


ยอดมโนราพ่อเติมตรังดังก้องใกล


นานเท่าไรชื่อก้องอยู่มิรู้ลืม

ขอขอบคุณ  
รูปจริงโดย  ทับทรวง ห่วงใยคุณ
เมือวันที่ ๒๒  เมษายน  ๒๕๕๖